มีเงิน 20,000 บาทซื้อประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงดี

FAQ ประกันสุขภาพ Ep.1: ถ้ามีเงิน 20,000 บาทควรซื้อประกันสุขภาพหรือประกันโรคร้ายแรงก่อนดี?

จากคำถามของผู้ชมทางบ้านที่เข้ามาอย่างล้นหลามว่า

“ประกันสุขภาพ กับ ประกันโรคร้าย ต่างกันยังไง” และ
“ซื้อประกันสุขภาพ หรือประกันโรคร้ายแรงก่อนดี”

โดยอีพีทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเกิดจากคำถามของลูกเพจ และผู้ที่สอบถามเข้ามาทางเว็บไซต์ของเรา เพื่อให้ความรู้แบบรู้ลึก และรู้จริงในเรื่องประกัน โดยเฉพาะประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงที่มีความซับซ้อน

หากท่านใดมีคำถามหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถฝากไว้ที่แถบ pop up เล็กๆสีแดงด้านขวาของจอได้เลยนะครับ

ก่อนอื่นฟลุคจะขออินโทรฯและปูพื้นไอเดียเรื่องประกันสุขภาพและประกันโรคร้ายแรงให้แต่ละท่านฟังก่อน แล้วค่อยลงรายละเอียดทีละนิด ทีละนิด ไม่ให้ข้อมูล overload ไปนะครับ และพอท้ายบทความฟลุคมั่นใจว่าทุกท่านจะต้องเข้าใจประเด็นนี้อย่างแจ่มแจ้งแน่นอนครับ

ประกันสุขภาพ Health insurance
ประกันสุขภาพ Health insurance

ประกันสุขภาพคืออะไร

ปก.สุขภาพคืออะไร: คือประกันที่คุ้มครองการเจ็บป่วย โดยจะจ่าย ‘ตามจริง’ ตามหมวดความคุ้มครอง โดยที่ผ่านมาประกันสุขภาพมีมาแล้ว 3 รุ่น หรือ 3 ยุค (จากการสรุปด้วยความเข้าใจตนเองและออกไปเจอลูกค้าในตลาด) – ทั้งนี้ให้รวมถึงประกันสุขภาพ เด็กด้วย

1. ยุคหิน: จำกัดวงเงินแต่ละหมวด: และค่าผ่าตัดไม่ได้จ่ายเต็มวงเงิน แต่จ่ายเป็น % ขึ้นอยู่กับโรคที่ผ่า ส่วนเงื่อนไขการจ่ายนั้น ยิ่งฉบับเก่าๆ แนะนำดูในกรมธรรม์นะครับ

2. ยุค ’90s: ประกันสุขภาพ แบบเหมาจ่ายค่ารักษา แทนที่จะจำกัดวงเงินแยกแต่ละหมวดเหมือนอันแรก ซึ่งค่ารักษาที่รพ.บางทีมาแบบยิบย่อยมาก บางหมวดอาจไม่มี เลยมีประกันแบบเหมาจ่ายมา คือ มีวงเงินตั้งให้เลย เช่น “อ๊ะ นี่เงิน 1,000,000 บาท มีค่ารักษาอะไรเบิกจากก้อนนี้เลยนะ” ดังนั้นจึงตัดปัญหาเรื่องการเบิกหมวดยิบๆย่อยออกไปเยอะมาก เพราะตั้งเป็นวงเงิน in general แทน

3. ยุคหลังโควิด: เหมาจ่ายค่ารักษาและค่าห้อง: สำหรับแผนที่เหมาจ่ายค่าห้องและค่ารักษา เนื่องจากแผน 2 ค่าห้องจะให้น้อยมากๆ เช่น 2,000 4,000 แต่ค่าห้องปัจจุบันหลายๆเจ้าอยู่ 6,000 7,000 ทั้งนั้นแล้ว ดังนั้น ถ้ามีค่าห้อง 2,000 แต่ไปนอนห้อง 6,000 ซึ่งเป็นห้องปกติ ถ้านอน 4 คืน ส่วนต่างที่ต้องจ่ายเพิ่มก็ 16,000 แล้ว เท่ากับประกันสุขภาพปีนึงเลย

  • ปัจจุบันแผนเหมาจ่ายค่าห้อง และค่ารักษาจะมี 2 เจ้า คือ กรุงเทพประกันชีวิต (BLA) และ เมืองไทยประกันชีวิต (MTL) 2 เจ้านี้ครับ
  • ยกตัวอย่างแผนของกรุงเทพประกันชีวิต จะมี BLA Prestige Health และ BLA Happy Health
ประกันโรคร้ายแรง Critical Illness Insurance
ประกันโรคร้ายแรง Critical Illness Insurance

ประกันโรคร้ายแรงคืออะไร

ประกันโรคร้ายแรง คือ ประกันที่เจอจ่ายเป็นเงินก้อนโต ‘ตามเงื่อนไขกรมธรรม์’ เพื่อให้ผู้ซื้อประกันได้นำเงินก้อนนี้ไปใช้รักษาตัว พักฟื้น ค่ายา ฯลฯ

โดยคำว่า ‘ตามเงื่อนไขกรมธรรม์’ ขออนุญาตยกตัวอย่างและขยายความดังนี้

ยกตัวอย่างแผนประกันโรคร้ายแรง BLA Super Care และประกันโรคร้ายแรง ‘ทั่วไป’ เท่าที่ฟลุคศึกษามาของหลายเจ้า หลายสินค้าจะหน้าตาและเงื่อนไขคล้ายๆกันดังนี้

โดยฟลุคยกตัวอย่าง 2 โรคร้ายแรงที่คนไทยเป็นกันเยอะ นั่นคือ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจ โดยในโบรชัวร์ก็มักจะระบุตัวอักษรค่อนข้างเล็ก แต่พอมาดูไส้ในจริงๆ ประกันตัวนี้จะจ่ายก็ต่อเมื่อเป็นมะเร็งระยะลุกลาม เท่านั้น! แต่ถ้าเป็นมะเร็งระยะไม่ลุกลามก็ยังไม่จ่าย

อย่างไรก็ตามประกันตัวนี้จะไม่ได้จ่ายมะเร็งทุกชนิดนะครับ ตัวนี้จะยกเว้นมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งกระเพาะ มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด Chronic Lymphocytic Leukemia (Stage 3) ฯลฯ ตามลิสต์ข้างล่างนี้

ตัวอย่างกรมธรรม์ประกันโรคร้ายแรง โรคมะเร็งระยะลุกลาม
ตัวอย่างกรมธรรม์ประกันโรคร้ายแรง โรคมะเร็งระยะลุกลาม
ตัวอย่างกรมธรรม์ประกันโรคร้ายแรง โรคหัวใจ
ตัวอย่างกรมธรรม์ประกันโรคร้ายแรง โรคหัวใจ

หรือแม้แต่สำหรับโรคหัวใจตายเฉียดพลันจากการขาดเลือด (Acute Heart Attack) ที่จะต้องมีอาการ รวมถึงค่าต่างๆที่จะต้องครบทั้ง 3 ข้อถึงจะได้เงินก้อนจากประกันโรคร้ายนี้ จะครบเพียงแค่ 2 ใน 3 ข้อไม่ได้

สิ่งที่ทำให้ฟลุคตกใจมากที่สุดคือ ที่บริษัทมีลูกค้าบางท่านเบิกโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้ และบางท่านไม่ได้เนื่องจาก ‘ไม่เข้าเงื่อนไข’ตามที่คุยกันด้านบนเมื่อกี้

เลยทำให้เราตระหนักว่า ‘ประกันโรคร้ายนี่ก็เงื่อนไขละเอียดอยู่เหมือนกันนะ’

สรุป

ควรทำประกันสุขภาพ ก่อน ประกันโรคร้ายแรง ‘เสมอ’

เนื่องจากเงื่อนไขการจ่ายง่ายกว่ามาก หากวงเงินประกันสุขภาพไม่พอ ค่อยทำประกันโรคร้ายแรงเสริม

ปล.หากเรามีประกันสุขภาพอยู่แล้ว และคิดว่าวงเงินไม่พอ หรือแม้ว่าเราคิดว่าประกันสุขภาพคุ้มครองเราพอแล้ว เราก็ควรมีประกันโรคร้ายติดไว้ติ่งนึง สัก 1 ล้านบาท เป็นต้น

เพราะประกันสุขภาพจะจ่ายเฉพาะตอนที่เราแอดมิท นอนรพ. หรือมากสุดคือจ่ายค่า follow up ให้ภายใน 1 เดือน แต่หลังจากนั้น หากเราไม่มีประกัน OPD ส่วนตัวหรือของที่ทำงาน เวลาไปหมอนัดที ก็มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้น ไม่ว่าจะค่าหมอ ค่ายา (แพงเอาเรื่องอยู่เหมือนกันนะ ค่ายาเดือนละ 2-3 พันแล้วแต่โรค)

ดังนั้นหากเราได้รับเงินก้อน ยกตัวอย่าง 1 ล้านบาทจากประกันโรคร้าย ก็จะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างสบายใจขึ้นมากเลยล่ะครับ

หากท่านใดได้ความเห็นที่สอง (Second opinion) จากเรา เรายินดีมากๆครับ ทักแชทหาเราตอนนี้เลย!

ปรึกษาเราฟรี

Fluke 640 640
line add friend

โทร 080-294-5216
อีเมล contact@wunlawealth.com

Similar Posts