ประกันสะสมทรัพย์ ประกันบำนาญ 2566 กรุงเทพประกันชีวิต ตัวไหนดี (BEST of BLA)
1. ทำไมต้องวางแผนภาษี?
การวางแผนภาษี คือการย้ายเงินจากกระเป๋าซ้ายไปไว้กระเป๋าขวา พร้อมเพิ่มโอกาสโตของเงินต้น และรับของพรีเมียมแบบจุกๆ ไม่ว่าจะเป็น
- (เงินคืนภาษี) โปรฯ Cashback รับเต็มๆ รับทันทียิ่งกว่ามีคนเดินมาตกคอนโดแบบในเกมส์เศรษฐี
- (เงินคืนภาษี) นำเงินคืนภาษีกลับไปต่อยอดหรือให้รางวัลตัวเองกับความเหน็ดเหนื่อยตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าแบรนด์เนม ทริปเที่ยวยุโรปสัก 7 วัน หรือแม้แต่นำไปลงทุนต่อก็ได้เช่นกัน
- (ประกันสะสมทรัพย์/ประกันบำนาญ) เงินคืนจากประกันแบบรายปีโดยที่ไม่ต้องเอาคิดเป็นรายได้ รับเต็มๆ รับเต็มๆ รับเต็มๆ เพราะว่าเงินคืนหรือผลตอบแทนจากประกันทุกชนิดได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย
ฟลุคเป็นคนหนึ่งที่เคยถามตัวเองเหมือนกันว่าปีนี้ประกันตัวเดิมหมดแล้ว จะต้องซื้อประกันหรือกองทุน ค่าลดหย่อนต่างๆให้ดีที่สุด คุ้มค่าที่สุด แล้วเราจะซื้อประกันสะสมทรัพย์ที่ไหนดี หรือแม้แต่ไปถามประกันสะสมทรัพย์ pantip ก็เคยมาแล้ว 5555
ฟลุคจะถือคติเสมอว่าอันไหนไม่ดี เราจะไม่แนะนำโดยเด็ดขาด! เสียชื่อหมด!
ทีนี้ปัญหาที่เจออออออมาโดยตลอดการทำงานเป็นที่ปรึกษาการเงิน/นักวางแผนการเงินมาตลอด 4 ปีก็คือ…
“ปกติจะยุ่งมากๆเลยครับ/ค่ะ หาวันว่างไม่ได้สักที รู้ตัวอีกทีก็ วันสุดท้ายของปีแล้ว!!!”
นั่นน่ะสิ! ทำไมทุกสิ้นปี แทนที่วันคริสมาสจะได้ไปฉลองกับแฟนถ่ายรูปชิคๆที่เซ็นทรัล เวิล์ด กลับมาต้องเข้าคิวหน้าธนาคารคิวยาวเฟื้อยยยยยยยยยยย แต่จะดีกว่าไหมหากเราวางแผนไว้แต่เนิ่นๆ?
2. จะลดหย่อนภาษีครึ่งปี หรือเต็มปี ต้องซื้อค่าลดหย่อนอะไร เมื่อไหร่บ้าง?
2.1 หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีรายได้ 40(5)-40(8) ในช่วง 1 ม.ค.-30 มิ.ย. ของทุกปีเกิน 60,000 บาท (รวมแพทย์และทันตแพทย์ด้วย) คุณจะมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีครึ่งปี
ดังนั้นคุณจะต้องรีบซื้อประกัน / กองทุน RMF ตามสิทธิ์ที่คุณสามารถซื้อได้ก่อน 30 มิ.ย. โดยอัตรา/ตารางค่าลดหย่อนต่างๆสามารถดูได้จากปุ่มนี้
แต่หากว่าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนปกติ มีรับจ็อบบ้างไรบ้าง ให้ข้ามไป 2.2 ได้เลย
2.2 มนุษย์เงินเดือน ยื่นภาษีเต็มปีอย่างเดียว ยื่นทีปีหน้านู่นเลย จะต้องซื้อค่าลดหย่อนต่างๆให้เสร็จสรรพก่อน 30 ธ.ค. 2565
แต่ แต่ แต่อย่างไรก็ตามคุณจะต้องเช็คกับสาขา หรือที่ปรึกษาการเงินของคุณว่าเขาปิดระบบวันไหน เช่น ที่กรุงเทพประกันชีวิต กองทุนปิด 25 ธ.ค. ส่วนประกันปิด 30 ธ.ค. 23.59 น.
3. ปูพื้นให้ลูกเพจเบาๆก่อน
3.1 วิธีการอ่านตัวเลขในภาษาประกัน
หากคุณไปเจอแผนประกันชนิดใดของบริษัทใดก็ตาม ร้อยละ 90% จะใช้ format เดียวกัน
– ตัวเลขที่มากกว่า = จำนวนปีที่คุ้มครอง หรือ คุ้มครองถึงอายุ __ ปี
– ตัวเลขที่น้อยกว่า = จำนวนปีที่ส่งเบี้ย
1.1 แผนสะสมทรัพย์ Savings 25/15
– คุ้มครอง 25 ปี
– ส่งเบี้ย 15 ปี
1.2 แผนประกันชีวิต 99/20
– คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี
– ส่งเบี้ย 20 ปี
เป็นต้น
3.2 สิทธิ์ค่าลดหย่อนต่างๆ

สำหรับสิทธิ์ค่าลดหย่อนต่างๆ ฟลุคได้ตั้งใจทำสรุปสั้นๆ พร้อมเงื่อนไขที่ลูกเพจทุกท่านสามารถดาวน์โหลดและนำไปใช้ได้ทันทีเลย โดย infographics นี้ฟลุคตั้งใจทำมากๆๆๆๆๆ และมั่นใจว่าไม่มีใครเหมือน คือเงื่อนไข (สีส้ม และสีฟ้าน้ำทะเล) ว่าจะนำบุคคลเหล่านั้นไปใช้สิทธิ์ต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง
หวังว่าทุกคนจะเห็นว่ากราฟิกด้านบนจะเป็นประโยชน์และโหลดไปใช้กันนะครับ 🙂
3.2.1 สิทธิ์ประกัน 100,000 บาทแรก หรือ “ประกันแสนแรก”
โดยในโพสต์นี้ฟลุคจะเน้นที่ประกันสะสมทรัพย์นะครับ เนื่องจากเป็นที่ต้องการของตลาดค่อนข้างสูง โดยเฉพาะช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี หากท่านใดหาสิ่งที่อยากได้ไม่เจอ เช่นประกันคุ้มครองสูง หรือคุ้มครองแบบชั่วระยะเวลา รบกวนแอด LINE ฟลุคหรือทิ้งข้อความไว้ด้านล่างได้นะครับ
ประกันสะสมทรัพย์คืออะไร ประกันสะสมทรัพย์ หรือที่หลายๆคนเรียกกันว่า ประกันเงินออม คือ ประกันชีวิตชนิดหนึ่งที่มีการ “การันตี” เงินคืนตามสัญญาโดยบริษัทประกันในรูปแบบของ “เงินก้อนเมื่อครบสัญญา” และ/หรือ “เงินคืนระหว่างสัญญา”
เหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่ต้องการออมเงิน/ฝากเงินโดยที่เงินต้น “ไม่หาย”
- คนที่ไม่สามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
- ผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษีประกันชีวิต 100,000 บาทแรกให้เต็ม
- ผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการลงทุนโดยการลงทุนในประกันสะสมทรัพย์ที่ “ปราศจากความเสี่ยง”
3.2.1.1 ประกันสุขภาพสามารถลดหย่อนได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาท และเมื่อรวมประกันชีวิตแล้วสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
หรือที่เขาเรียกกันว่า “ประกันแสนแรก” นี้รวมเบี้ยประกันสุขภาพ ในวงเงินนี้ด้วยตามภาพประกอบด้านล่าง

3.2.2 ประกันบำนาญ คืออะไร
ประกันบำนาญ คือการซื้อประกัน เพื่อสร้างบำนาญให้กับตัวเอง โดยจะจ่ายตั้งแต่อายุ 60 เป็นต้นไป โดยแต่ละบริษัทจะมีแผนที่ต่างกัน คุ้มครองถึงอายุไม่เท่ากัน โดยของกรุงเทพประกันชีวิตจะมีแค่แผนเดียว คือ คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี
เหมาะกับใครบ้าง
- ผู้ที่ต้องการลดความเสี่ยงจากการลงทุน
- ผู้ที่ต้องการกระแสเงินสดที่แน่นอนในช่วงหลังเกษียณ
- ผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษีประกันบำนาญ (สิทธิ์ลดหย่อนภาษีประกันบำนาญคือ ไม่เกิน 15% ของเงินได้ก่อนหักค่าลดหย่อน และไม่เกิน 200,000 บาท…แต่ถ้าถามว่าซื้อมากกว่านั้นได้ไหม ได้เลย ไม่มีปัญหา
- คนที่ไม่สามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้
3.2.2.1 สิทธิ์ประกันบำนาญ คือ 15% ของเงินได้ก่อนหักค่าลดหย่อนและไม่เกิน 200,000 บาท

และในหมวดบำนาญจะสามารถลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด 500,000 บาท
3.2.2.2 ความรู้ประกันชีวิต ประกันบำนาญเพิ่มเติม [สำคัญมาก!]
ทั้งนี้ประกันบำนาญยังสามารถแปลงร่างได้อีกด้วย
ในกรณีที่เราไม่มีประกันชีวิต 100,000 บาทแรก เราสามารถซื้อประกันบำนาญได้ 300,000 บาทและสามารถลดหย่อนได้เต็ม! โดยเงินก้อนนี้จะแตกเป็น 2 ส่วน คือ
- 200,000 บาทแรกจะเอาไว้ที่หมวดบำนาญ ดังเช่นที่กล่าวไว้ด้านบน
- ส่วนอีก 100,000 บาทที่เหลือ เราสามารถโยกเอาไปไว้หมวดประกัน 100,000 บาทแรกได้ด้วยนะครับ!
1. ประกันชีวิตทุกชนิดที่สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้จะต้องมีระยะเวลาคุ้มครองอย่างน้อย 10 ปี ขึ้นไป
2. เงินคืนจากประกันชีวิตทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นเงินคืนระหว่างสัญญา เงินครบสัญญา เงินปันผล หรือแม้แต่เงินคืนจากประกันบำนาญได้รับการยกเว้นภาษี และไม่ต้องนำไปรวมเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษี
3. จำนวนปีที่ต้องส่งเบี้ย และจำนวนปีที่คุ้มครอง ตอบโจทย์เราไหม?
สมมุตินาย K อายุ 40 อยากจะซื้อประกันสะสมทรัพย์เพื่อลดหย่อนภาษีและเพื่อกระจายพอร์ตการลงทุนให้ไม่เสี่ยงมาก ดังนั้น Savings 20/8 อาจจะตอบโจทย์ เพราะเงินก้อนตอนครบกำหนดสัญญาจะได้ตอนอายุ 60 ปีพอดีพร้อมเกษียณ หรือหากต้องการ early retire อาจมองเป็น Savings 12/6 ก็ได้เช่นกัน สรุปสั้นๆก็คือแผนที่เลือกควรเหมาะกับเป้าหมายชีวิต และไลฟ์สไตล์ของเรา นั่นเอง
4. เบี้ยเริ่มต้นเท่าไหร่?
นอกจากปัจจัยเรื่องระยะเวลาการส่งเบี้ย จำนวนปีที่คุ้มครอง อีกปัจจัยนึงที่ต้องนำมาพิจารณาด้วยคือแต่ละแบบประกันนั้น เบี้ยเริ่มต้นอยู่ที่เท่าไหร่ เพราะยิ่งส่งสั้น เบี้ยเริ่มต้นก็จะค่อนข้างสูง ยกตัวอย่างแผน Savings 12/6 ที่ส่งสั้น เบี้ยเริ่มต้น 50,000 บาท ในขณะที่แผน กรุงเทพ 118 (12/18) เบี้ยเริ่มต้น 12,000 บาทต่อปี เป็นต้น
5. หากแผนใดให้ความคุ้มครองที่สูง ผลตอบแทนเฉลี่ยอาจจะไม่ได้สูงมากนัก
อันนี้เป็นเพียงแค่ข้อสังเกตแต่ไม่เสมอไป เนื่องจากไอเดียของประกันสะสมทรัพย์ คือ เน้น”ผลตอบแทน” ดังนั้นหากคุณไปเจอแผนสะสมทรัพย์ใดที่ทุนชีวิต/ความคุ้มครองใกล้เคียงกับเบี้ยที่คุณจ่าย มีความเป็นไปได้สูงที่ผลตอบแทนของประกันตัวนั้นจะสูง และถ้าหากไปเจอแผนสะสมทรัพย์ใดที่ความคุ้มครองสูงกว่าเบี้ยที่จ่ายมาก ผลตอบแทนเฉลี่ยของสะสมทรัพย์ตัวนั้นอาจไม่ได้สูงมากนัก เพราะบริษัทประกันนำเงินส่วนที่จะจ่ายคืนเป็นผลตอบแทน ย้ายไปใส่เป็นความคุ้มครองให้เราแทน
4. แผนประกันสะสมทรัพย์ ประกันเงินออม กรุงเทพประกันชีวิต 2565
จุดเด่นประกันสะสมทรัพย์ กรุงเทพประกันชีวิต : มีแบบส่งสั้นๆ!
เปรียบเทียบประกันสะสมทรัพย์ 2565 กรุงเทพประกันชีวิต



ทั้ง 4 แผนที่ได้คัดเลือกมาให้จะมีทั้งแผนส่งสั้น ส่งยาว และปันผล เปรียบเทียบให้ดูที่เบี้ย 10,000 บาทต่อปีสำหรับประกันสะสมทรัพย์ และประกันบำนาญที่เบี้ยปีละ 200,000 บาท เพื่อให้ตอบโจทย์การลดหย่อนภาษีของท่านในแต่ละปี
1. Savings 12/6 – ขั้นต่ำ 50,000 บาท/ปี
2. Savings 20/8 – ขั้นต่ำ 30,000 บาท/ปี
3. Savings 14/7 (ปันผล) – ขั้นต่ำ 50,000 บาท/ปี
4. Punsuk ปันสุข 80/20 – ขั้นต่ำ 10,000 บาท/ปี
👇👇👇
เปรียบเทียบประกันบำนาญ 2565 กรุงเทพประกันชีวิต

ประกันบำนาญของที่บริษัทจะมีแผนเดียวคือคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี ตอบโจทย์วัย ageing society สามารถแนบเพิ่มกับประกันสุขภาพได้อีกด้วย
โดยที่บริษัทจะมีอยู่ทั้งหมด 3 แผน: ชำระเบี้ย 5 ปี 10 ปี และจนถึงอายุ 60 ปี โดยตัวอย่างข้อเสนอฟลุคได้แนบแผนชำระเบี้ย 5 ปีและ 10 ปี ที่เบี้ย 25,000-200,000 บาทในปุ่มด้านล่าง
👇👇👇
👇ADD LINE เพื่อให้เราส่งข้อเสนอได้เลยครับ!👇
1. ซื้อผ่านออนไลน์ก็ได้ ไม่ต้องซื้อผ่านตัวแทนหรอก โปรฯดีกว่าตั้งเยอะ!
ส่วนนึงจะบอกตรงๆเลยว่าจริง เพราะบริษัทกรุงเทพประกันชีวิตกำลังผลักดันช่องทางออนไลน์อยู่ อย่างไรก็ตามโปรฯออฟไลน์ก็เด็ดๆทั้งนั้นที่ออนไลน์ไม่มี
สิ่งที่สำคัญที่สุดของการการวางแผนภาษีหลายๆท่านอาจจะมองในเรื่องผลประโยชน์หลักๆ แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยคือเรื่องบริการหลังการขาย หากซื้ออนไลน์ครั้งเดียวจบ แต่หากมีตัวแทนดูแล เขาจะคอยเช็คคอยตาม คอยรักษาผลประโยชน์ให้คุณ สัญญา 12 ปี คือดูแลกันยาวๆไป เกิดวันไหนมีปัญหาขึ้นมาคุณไม่ต้องลาหยุดและหอบสังขารไปที่สำนักงานใหญ่ตรงวงศ์สว่างเอง คุณโทรกริ๊งเดียวหาฟลุค ผมจัดการให้คุณได้ทุกอย่างเลยครับ 🙂
ถ้าช่วงไหนบริษัทมีโปรฯคือฟลุคบอก เพราะฟลุคก็อยากให้คุณอยู่แล้ว ถ้าใครมางาน Thailand Smart Money ที่เซ็นทรัลลาดพร้าววันที่ 11 ฟลุค stand by ตั้งแต่ 10.00-20.00 น.บูธกรุงเทพประกันชีวิต ใส่สูทสีเทา MDRT ครับ 🙂
2. ปันผลคืออะไร
สำหรับสะสมทรัพย์ชนิดมีปันผล บริษัทจะนำเบี้ยที่เราจ่ายทุกปี (หรือเงินที่เราจ่ายเพื่อซื้อประกัน) ประมาณ 1-2% ไปลงทุนในสินทรัพย์ที่เสี่ยงขึ้นกว่าที่ลงทุนปกติ (พันธบัตรรัฐบาลอย่างเดียว) เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น แผนแบบมีปันผลสามารถเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทน โดยเฉพาะในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้น ประกันสะสมทรัพย์ชนิดมีเงินปันผลจะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้มากขึ้นกว่าในสภาวะปกติ
Q: “แล้วเราจะได้ปันผลทุกปีไหม”
A: ขึ้นอยู่กับผลประกอบการบริษัทในปีนั้นๆ หากบริษัทสามารถทำกำไรได้ในปีนั้นๆก็จะจ่ายปันผลให้เรา แต่หากไม่สามารถทำได้ หรือขาดทุนก็จะไม่จ่ายในปีนั้น แต่จะไม่ไปหักลบออกจากเงินต้นของเรา ดังนั้นเงินปันผลจะเป็นเงินส่วนที่ “ไม่การันตี” เนื่องจากแผนสะสมทรัพย์หรือประกันเงินออมพึ่งเปิดได้ประมาณ 2 ปี ผลตอบแทนย้อนหลังของพอร์ตปันผลสามารถทำได้ 3.20% และ 3.54% ในปี 2563 และ 2564 ตามลำดับ
3. จุดเด่นของประกันสะสมทรัพย์ กรุงเทพประกันชีวิต คืออะไร
มีแผนประกันสะสมทรัพย์สั้น 12/6 ส่ง 6 ปีคุ้มครอง 12 ปี เริ่มต้น 50,000 บาท และยิ่งเบี้ยสูงขึ้น อัตราผลตอบแทนก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน!
เบี้ย 50,000-99,999 บาท เรทเบี้ยนึง
เบี้ย 100,000-199,999 บาท ผลตอบแทนสูงขึ้น 3%
เบี้ย 200,000 บาทขึ้นไป ผลตอบแทนสูงขึ้นกว่าเรทแรก 10% ++
4. ประกันสะสมทรัพย์เบี้ยเริ่มต้นขั้นต่ำเท่าไหร่
ถ้าเป็นแผนประกันสะสมทรัพย์สั้นๆ เช่น 12/6 เบี้ยเริ่มต้น 50,000 บาทต่อปี
ประกันสะสมทรัพย์บางแผนเบี้ยเริ่มต้นขั้นต่ำ 10,000 ต่อปี เช่น ปันสุข 80/20
บำนาญ 99 เริ่มต้นประมาณ 20,000 บาทต่อปี
5. ประกันบำนาญมีแต่คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี อยู่ไม่ถึงหรอก!
ถึงแม้ว่าบางคนจะบอกว่า “แม๊ ฉันคงอยู่ถึงหรอก!!! 80 ก็ไปแล้ว”
แต่ใครจะไปรู้อายุขัยตัวเองถูกไหม? ยิ่งนวัตกรรมทางการแพทย์ก้าวหน้ามากเท่าไหร่ เราก็มีโอกาสอายุยืนมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด คือการ เตรียมเงินไว้ให้เหลือใช้ ดีกว่า พอใช้ ทุกคนเห็นด้วยกับฟลุคไหมครับ?
สิ่งที่สำคัญที่ทำให้ BLA เด่นด้านนี้ที่สุดเลยก็คือประกันสุขภาพ ที่คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี
ดังนั้นเราสามารถ ผูกประกันสุขภาพเข้ากับประกันบำนาญ ได้ด้วยนะ
อายุยืน มีตังใช้ เจ็บป่วยทีก็ไม่ต้องกังวล เพราะประกันสุขภาพและบำนาญคุ้มครองยาววววววว!
อายุยืนแค่ไหนก็หายห่วง บอกเลย!