บีแอลเอ พรีเมียร์ ลิงค์

Ep.3 BLA Premier Link – UNIT LINKED ฉบับกรุงเทพประกันชีวิต

1. BLA Premier Link คือ ประกันชีวิตควบการลงทุนแบบ DIY

บีแอลเอ พรีเมียร์ ลิงค์ (BLA Premier Link) คือแผน Unit link (UL) ของกรุงเทพ ประกันชีวิตที่สามารถ DIY ได้ 3 เรื่องประกอบด้วย
1. ความคุ้มครอง – เลือกความคุ้มครองได้เอง สูงสุด 200 (ชาย) ถึง 250 (หญิง) เท่าของเบี้ยที่จ่าย และหากอายุมากกว่า 40 ปี ความคุ้มครองสูงสุดที่เลือกได้จะค่อยๆลดลง
2. เบี้ยประกันขั้นต่ำเพียงปีละ 12,000 บาท!
3. จำนวนปีที่จ่ายเบี้ยและความคุ้มครองเลือกได้แบบ DIY – แม้เงื่อนไขของกรมธรรม์แบบ UL จะระบุไว้ว่า 99/99 หมายความว่า ส่งเบี้ยถึงอายุ 99 ปี คุ้มครอง 99 ปี แต่เราก็จะสามารถกำหนดได้เองว่าจะส่งเบี้ยกี่ปี เช่น 10 15 20 หรือ 40 ปี เป็นต้น

อย่างไรก็ตามก่อนการซื้อกรมธรรม์แบบ UL เราควรจะเลือกจุดประสงค์ก่อนว่าซื้อไป “เพื่ออะไร” เช่น หากผมต้องการซื้อไว้เพื่อจุดประสงค์คุ้มครองการศึกษาลูก หากเกิดอะไรขึ้น ลูกผมเรียนจบป.ตรีแน่นอน ผมก็อาจจะกำหนดระยะเวลาการจ่ายเบี้ย = 21 ปี เป็นต้น

ค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์ต่างๆของประกัน Unit Linked BLA Premier Link
ค่าธรรมเนียมและผลประโยชน์ต่างๆของประกัน Unit Linked BLA Premier Link

ตารางค่าธรรมเนียมต่างๆของ BLA Premier Link ซึ่งสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

สิทธิประโยชน์ของประกัน Unit Linked กรุงเทพประกันชีวิต BLA Premier Link Premium Holiday, การลดเบี้ยประกันหลัก, การสับเปลี่ยนกองทุนโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม (Fund Switching), Automatic Fund Rebalancing, Non-lapse Guaranteed, Premium Holiday
สิทธิประโยชน์ของประกัน Unit Linked กรุงเทพประกันชีวิต BLA Premier Link Premium Holiday, การลดเบี้ยประกันหลัก, การสับเปลี่ยนกองทุนโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม (Fund Switching), Automatic Fund Rebalancing, Non-lapse Guaranteed, Premium Holiday

ส่วนข้อดีของแผน BLA Premier Link อธิบายเพิ่มเติมในรูปมีดังนี้

1.สามารถหยุดพักชำระเบี้ยประกันได้ระหว่างทาง (Premium Holiday) โดยค่าธรรมเนียมต่างๆที่เกิดขึ้นในระหว่างที่เราหยุดจ่ายเบี้ยไป จะมีการไปดึงเงินจากกองทุนที่สะสมในกองทุน UL มาจ่ายค่าธรรมเนียมในแต่ละเดือน/ปี ดังนั้นเราสามารถหยุดจ่ายเบี้ยไป 10 20 ปีหรือตลอดไป หากจำนวนเงินที่เรามีสะสมในกองทุน UL มีมากกว่าค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้นในแต่ละปี เป็นต้น

2.เราสามารถเลือกได้ว่าจะให้บริษัทฯทำการปรับสัดส่วนการลงทุนให้เราทุกปีไหม (Automatic Fund Rebalancing) เนื่องจากแต่ละคนที่ซื้อ Unit Linked รับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน สมมุติว่าฟลุคเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้ปานกลาง จัดพอร์ตฯ UL ลงทุนในหุ้นกู้ 50% หุ้นต่างประเทศอีก 50% เกิดอีก 3 ปีหุ้นโตดีมาก สัดส่วนตอนนั้นกลายเป็นหุ้นกู้:หุ้นตปท. 30:70 จะทำให้ความเสี่ยงที่ฟลุครับได้มากจนเกินไป ดังนั้นการ ‘เขย่า’ สัดส่วนตรงนี้จะทำให้สัดส่วนหุ้นกู้:หุ้นตปท.อยู่ที่ 50% ทุกปี

3.การสับเปลี่ยนกองทุน (Fund Switching) เราสามารถโยกเงินระหว่างกองทุน Unit Linked แม้ว่าจะคนละบลจ.ได้โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมเพิ่ม!

4. เราสามารถลดเบี้ยประกันภัยหลัก (RP) ได้ระหว่างทาง : ลดได้ แต่เพิ่มไม่ได้ ถ้าอยากเพิ่มต้องซื้อ UL เล่มใหม่สถานเดียว!


2. กองทุนรวม BLA Unit Linked ที่สามารถเลือกได้

ที่กรุงเทพประกันชีวิตเรามีมากถึง 18 กองทุน 6 บลจ. ให้ทุกท่านเลือก! เช่น บลจ.บัวหลวง บลจ.กรุงศรี บลจ.เกียรตินาคินภัทร บลจ.พรินซิเพิล และบลจ.ทิสโก้ คัดสรรโดยนักวิเคราะห์หลักทรัพย์แถวหน้าของประเทศ ระดับ CFA หรือ Chartered Financial Analyst ซึ่งเป็นคุณวุฒิด้านการวิเคราะห์หลักทรัพย์ที่หาตัวจับยากมากๆในเมืองไทย!

List รายชื่อกองทุนที่สามารถเลือกได้ CLICK!

ในมุมมองส่วนตัว นี่คือ 3 กองทุนแกนหลัก (Core หลัก) ที่ฟลุคแนะนำลูกค้าไว้ใช้สำหรับจัดพอร์ต คือ BGLOBAL, PRINCIPAL GOPP-C (หุ้นต่างประเทศ) และ KFSPLUS-A (ตราสารหนี้) เนื่่องจากกองทุนหุ้นต่างประเทศช่วยกระจายความเสี่ยงในการเลือกหุ้น และเหตุผลที่แนะนำ KFSPLUS-A เนื่องจากผลตอบแทนค่อนข้างสูง อีกทั้งราคากองทุนไม่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่ค่อนข้างชันมากๆ (ซึ่งปกติตราสารหนี้จะกระทบหนักมากหากอัตราดอกเบี้ยขึ้นถี่และขึ้นแรงมาก)

ส่วนพอร์ตการลงทุนเราสามารถศึกษาตามลิ้งค์ที่ฟลุคส่งให้ด้านบน อาจจะใช้ 3 กองทุนที่ฟลุคแนะนำเป็นแกนหลักของการจัดพอร์ตเรา หรือว่าอาจเลือกตามพอร์ตที่บริษัทแนะนำให้ก็ได้เช่นกัน


3.ตัวอย่างการใช้ประกัน Unit Linked

3.1 – ความคุ้มครองยืดหยุ่น เล่มเดียว ครบ จบ ทุกอย่าง

ยกตัวอย่างตัวฟลุคเองก่อนแล้วกัน หากฟลุคคือผู้ชายอายุ 35 ปี มีลูก 1 คน อยากให้ลูกเรียนจบป.ตรี มหาวิทยาลัยรัฐในประเทศจะต้องใช้เงิน 7,500,000 บาท ฟลุคจึงตัดสินใจที่จะทำประกัน Unit link ที่ความคุ้มครอง 7,500,000 บาท จ่ายเบี้ยประกันปีละ 50,000 บาท เพราะหากเกิดอะไรขึ้นฟลุคมั่นใจได้เลยว่าลูกเรียนจบป.ตรีอย่างที่ตั้งใจไว้อย่างแน่นอน

หลังจากที่ลูกเรียนจบป.ตรี อายุประมาณ 21 (ซึ่งเราก็อายุ 56 แล้ว เตรียมเกษียณ) เราก็ไม่มีอะไรต้องห่วงอีกต่อไป เตรียมเกษียณริมทะเลชิลๆเบอร์นั้นเลย ฟลุคจึงตัดสินใจลดทุนประกัน(ความคุ้มครอง)ลงให้ต่ำที่สุด เพื่อที่จะได้เสียค่าธรรมเนียมให้น้อยที่สุด

หากทุกท่านสังเกตตั้งแต่อายุ 67 ปีขึ้นไป (กรมธรรม์ปีที่ 33) เส้นสีแดงกับสีเขียว จะสูงขึ้นแยกชั้นจากเส้นสีฟ้าอย่างชัดเจน ซึ่ง

– เส้นสีแดง = ผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต = ทุนประกัน หรือ 5 เท่าของมูลค่ากองทุนรวม (NAV) ขึ้นกับว่าตัวเลขใดสูงกว่า ให้ใช้ค่านั้น

ยกตัวอย่างจากภาพด้านล่าง หากฟลุคเสียชีวิตตอนอายุ 56 ปี – มูลค่าการลงทุน = 707,406.36 บาท ในขณะที่ผลประโยชน์กรณีมรณกรรม = 7,500,000 บาท ดังนั้นบริษัทฯจะจ่ายเงินก้อน 7,500,000 บาทให้กับผู้รับผลประโยชน์เนื่องจากเป็นเงินจำนวนที่มากกว่า

– เส้นสีเขียว = มูลค่าเงินในกองทุนรวม (NAV)

– เส้นสีฟ้า = เบี้ยที่เราจ่าย

แต่หากฟลุคไม่อยากได้ความคุ้มครองต่อแล้วเพราะหมดห่วงทุกอย่าง ฟลุคสามารถปิดกรมธรรม์ตอนอายุ 56 และถอนเงินจากกองทุนรวม 707,406.36 บาท เป็นเงินอีกก้อนไว้ใช้สำหรับเกษียณ

111
ณ อัตราเบี้ยของผู้ชายอายุ 35 ปีและสมมุติฐานว่าอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5% ต่อปี

3.2 – สร้างหลักประกันสุขภาพตลอดชีพแบบ Long-term healthcare

สำหรับในตัวอย่างนี้อาจจะเคยได้ยินคำว่า “Long-term Healthcare” มาจากหลายสำนัก และผมจะแสดงให้ดูว่าทำอย่างไร ไอเดียคร่าวๆสำหรับแผนระยะยาวนี้ คือสะสมเงินเข้าไปในกองทุนที่ UL ลงทุนอยู่ทุกๆปี จนถึงระยะเวลาหนึ่ง เช่นอายุ 55 60 65 70 (ตามที่เราวางแผนชีวิตไว้) เป็นต้น แล้วหลังจากนั้นพอหยุดส่งเบี้ยทั้งหมด เงินที่สะสมในกองทุน UL จะทยอยถูกขายมาในแต่ละปีเพื่อมาจ่ายค่าการประกันชีวิต COI ค่าธรรมเนียมการบริหารกองทุน และค่าประกันสุขภาพ เป็นต้น

ยกตัวอย่างเช่น นาย Charles อายุ 30 ปี ต้องการวางแผนประกันสุขภาพแบบ Long-term Healthcare ด้วย Unit Linked 99/99 และ Happy Health แผน 5 ล้าน ฟลุคช่วยจัดพอร์ตลงทุนไว้ที่ 3% ต่อปี (ไม่ตั้งเยอะ เพราะตลาดผันผวนเหลือเกินช่วงนี้) จ่ายเบี้ยถึงอายุ 60 โดยจ่ายเบี้ยในปีแรก 54,434 บาท

คำถาม หากหยุดส่งเบี้ยแล้ว UL + ประกันสุขภาพ จะคุ้มครองได้ถึงอายุเท่าไหร่?

คำตอบ Long-term Healthcare ของนาย Charles จะคุ้มครองได้ถึงอายุ 77 ปี ซึ่งหากอยากให้ประกันสุขภาพคุ้มครองนานขึ้น จะต้องใส่เงินเข้าไปในกองทุนเยอะขึ้น เพื่อทำให้เงินที่สะสมอยู่ในกองทุน UL มากเพียงพอที่จะ cover อายุขัยของเรา

โดยการคาดการณ์อายุขัยเฉลี่ยสามารถคำนวณได้โดยนำ อายเฉลี่ยบรรพบุรุษ +8 ปี ตามหลักคำนวณอายุขัยของตัวเราจากหลักสูตร CFP®

ตัวอย่าง long-term healthcare
ตัวอย่างการวางแผน long-term healthcare ของนาย Charles เพศชาย อายุ 30 ปี

FYI 1: ปัจจุบัน BLA ยังไม่มีแผนประกันสุขภาพแบบ UDR (เบี้ยคงที่) หากมีผมจะรีบอัพเดทโดยทันที

FYI 2: เบี้ยประกันที่จ่ายในแต่ละปีจะไม่เท่ากัน
1.เบี้ย RP: คงที่ตลอดสัญญา หากไม่เน้นความคุ้มครอง สามารถ fix วงเงินไว้ขั้นต่ำที่ 12,000 บาท
2.เบี้ย RTU: คงที่ตลอดสัญญา เนื่องจากเบี้ยตัวนี้จะเสียค่าธรรมเนียมน้อยกว่า RP เงินที่จ่ายผ่านช่องทางนี้จะถูกสะสมไว้ในกองทุนได้มากกว่าแบบแรก โดยนาย Charles สะดวกที่จะชำระเบี้ย RTU 36,000 บาทต่อปี
3.เบี้ยประกันสุขภาพ: เพิ่มขึ้นทุก 5 ปี หรือทุกปี แล้วแต่สัญญาสุขภาพที่แนบเพิ่มเข้าไป หากแนบ Happy Health ณ อายุ 30 เบี้ย Happy Health เพศชายจะอยู่ปีละ 18,434 บาท แต่หากแนบ Prestige Health เข้าไปเบี้ยจะปรับเพิ่มขึ้นทุกปี

เบี้ยรวมที่นาย Charles ต้องจ่ายในปีแรก คือ 12,000 + 36,000 + 18,434 = 54,434 บาท
เบี้ยรวมที่นาย Charles ต้องจ่ายในปีที่ 10 คือ 12,000 + 36,000 + 23,679 = 59,679 บาท

ซึ่งจะเห็นว่าเบี้ยประกันรวมจะเพิ่มขึ้นทุกปีเนื่องจากเบี้ยประกันสุขภาพปรับขึ้น อย่างไรก็ตามแม้แผนประกันสุขภาพแบบ UDR (เบี้ยคงที่) เบี้ยจะถูกกว่าประกันสุขภาพปกติมากก็จริง แต่มีอยู่ปัจจัยนึงที่ต้องอ่านเพิ่มที่อาจจะทำให้เบี้ย UDR ไม่คงที่ตลอดสัญญาก็ได้ ตามลิ้งค์นี้


ทีนี้มาถึงคำถามฮอตฮิต…

ตัวอย่างด้านบนนี้จะเป็นประกันชีวิตอย่างเดียว แล้วถ้าเราซื้อ UL กับประกันสุขภาพ เช่น Happy Health ล่ะ? หลังเกษียณอายุ 60 ปี ประกันแพ็คคู่นี้จะทำงานยังไง? ฟลุคจะอธิบายตัวอย่างให้ดูเป็นกรณีๆ ดังนี้
***ข้อควรรู้ก่อนเริ่ม
1. UL เป็นประกัน 99/99 หมายความว่า ชำระเบี้ย 99 ปี คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี หรือ “จ่ายเบี้ยทุกปี” นั่นเอง
2. ประกันสุขภาพที่เปิดขายของกรุงเทพประกันชีวิต ณ ปัจจุบันเป็นแบบ new standard health ทุกตัว และสามารถซื้อแนบกับ UL ได้ ประกอบด้วย Value Health, Happy Health และ Prestige Health โดยประกันสุขภาพเป็นแบบ “จ่ายเบี้ยทุกปี” และคุ้มครองถึงอายุ 99 ปี

3. หลังเกษียณอายุ 60 ปี ยังส่งเบี้ย Unit link และประกันสุขภาพต่อไป
หากเราจ่ายเบี้ยทั้งคู่ ประกันชีวิตและสุขภาพก็ยังทำงานต่อไปจนครบอายุสัญญา 99 ปี หรือจนกว่าจะหมดอายุขัยของผู้ทำประกัน

4. หลังเกษียณอายุ 60 ปี ไม่ส่งเบี้ย Unit link และประกันสุขภาพต่อ แต่อยากให้คุ้มครองต่อเนื่อง
ในกรณีนี้ หลังจากที่หยุดส่งทั้งประกัน UL และประกันสุขภาพตั้งแต่อายุ 61 ปีเป็นต้นไป เงินที่สะสมในกองทุนจะถูกนำออกมาใช้เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียมต่างๆ รวมถึงค่าประกันสุขภาพในแต่ละปี และเมื่อเงินที่สะสมในกองทุนหมด ประกันฉบับนี้ก็จะหมดความคุ้มครองลงในที่สุด

👇👇👇

ยังไม่เข้าใจหลักการทำงานของ Unit Linked? CLICK!


UL สามารถซื้อแนบประกันสุขภาพ
ของกรุงเทพประกันชีวิตได้ทุกแผน อ่านเพิ่มเติมได้ที่…


4. เปรียบเทียบประกัน Unit Linked: BLA, AXA, AIA

เมื่อเปรียบเทียบแผนประกัน Unit Linked สำหรับผู้ชายอายุ 39 ปี หากส่งเบี้ย Rp ปีละ 200,000 บาท เมื่อระยะเวลาผ่านไป 30 ปี จะพบว่า BLA มีมูลค่าหน่วยลงทุน UL สูงที่สุดที่ทุกความคุ้มครอง!

เปรียบเทียบ unit linked เปรียบเทียบประกัน unit link เปรียบเทียบประกัน Unit linked
เปรียบเทียบ unit linked BLA, AXA, AIA

ทำไมต้องทำ BLA พรีเมียร์ ลิงค์ กับกรุงเทพประกันชีวิต?

หัวข้อBLA
พรีเมียร์ ลิงค์
AIA
Issara+
AllianZ
My Style
MTL
M Design
เบี้ยประกันภัยเริ่มต้น
(บาท/ปี)
12,00012,00012,00020,000
ความคุ้มครองสูงสุด
(เท่าของเบี้ยที่ชำระ)
25025025015
Loyalty Bonus0.2% (ปีที่ 10-19), 0.3% (ปีที่20 เป็นต้นไป)ได้ 0.45%/ปี ตั้งแต่อายุ 55 ปีเป็นต้นไป0.2% ตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป
ค่าการดำเนินการประกันภัย
(RP)
8ปี6ปี6ปี10ปี
ค่าการดำเนินการประกันภัย
(RTU, ATU)
1.5%1.5%ปีที่ 1 10%
ปีที่ 2 8%
ปีที่ 3 6%
ปีที่ 4 2%
ปีที่ 5 เป็นต้นไป 0.5%
4.25-5%
ค่าการประกันภัย
(Cost of Insurance)
คิดตามหลัก ‘corridor’
ยิ่งมูลค่ากองทุนมากเท่าไหร่ ค่า COI จะน้อยลงเท่านั้น
???
ค่าธรรมเนียมบริหารกรมธรรม์ (Admin fee) ต่อปี0.6%0.7%0.7%
Non-Lapse Guarantee10ปี6ปี6ปี
ค่าธรรมเนียมการเวนคืนและการถอนเงินออกจากกรมธรรม์บางส่วน (Surrender Charge)ปีที่ 1 50%
ปีที่ 2 25%
ปีที่ 3 เป็นต้นไป -ไม่มี-
ปีที่ 1 50%
ปีที่ 2 50%
ปีที่ 3 เป็นต้นไป -ไม่มี-
ปีที่ 1 40%
ปีที่ 2 30%
ปีที่ 3 เป็นต้นไป -ไม่มี-
ปีที่ 1 50%
ปีที่ 2 40%
ปีที่ 3 35%
ปีที่ 4 30%
ปีที่ 5 25%
ปีที่ 6 20%
ปีที่ 7 15%
ปีที่ 8 10%
ปีที่ 9 5%
ตารางเปรียบเทียบยูนิต ลิงค์ของกรุงเทพประกันชีวิตและบริษัทอื่น

*การคิดค่าธรรมเนียม COI ของกรุงเทพประกันชีวิตจะได้เปรียบมากๆในระยะยาว ลองคิดดูนะครับ หากเราทำประกัน UL ผ่านไป 20 ปี มีเงินในกองทุนอยู่ 5,000,000 บาท ซึ่งโดยปกติแล้วเมื่อเงินในกองทุนเยอะ จะทำให้ทุนประกันสูง แปลว่าค่าธรรมเนียม COI จะสูงตาม … ในทางตรงกันข้ามที่กรุงเทพประกันชีวิต ยิ่งมูลค่ากองทุน (NAV) สูงขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้ค่า COI น้อยลงเท่านั้น จึงทำให้ UL ของกรุงเทพประกันชีวิตได้เปรียบในส่วนนี้มาก

BLA มีมูลค่าหน่วยลงทุน UL สูงที่สุดที่ทุกความคุ้มครอง! เมื่อเปรียบเทียบกับ AXA และ AIA


สนใจประกัน Unit Linked?
ทักแชทเราเลย!

ที่ปรึกษาการเงิน MDRT พร้อมให้คำปรึกษาเกี่ยวกับประกันควบการลงทุน BLA พรีเมียร์ ลิงค์
เพิ่มเพื่อน

โทร 080-294-5216
อีเมล contact@wunlawealth.com

คำถามที่พบบ่อย

Unit Linked ไม่เหมาะกับใคร?

เนื่องจากประกันประเภทยูนิต ลิงค์ มีส่วนของกองทุนรวมค่อนข้างมาก และการลงทุนมีความเสี่ยงและผันผวนอยู่เสมอ

Unit Linked จึงไม่เหมาะกับคนที่รับความเสี่ยงจากการลงทุนไม่ได้

หากคุณไม่สามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ ฟลุคขออนุญาตแนะนำสมัครเป็นประกันรูปแบบปกติ เช่น ประกันคุ้มครองสูง 99/20 (whole-life) หรือคุ้มครองระยะสั้น เช่น 20/20 จะเหมาะสมกว่าครับ

เราควรซื้อ Unit Linked หรือประกันกับกองทุนแยกกันดี?ประกัน+กองทุน รวมกันใน UL หรือประกัน+กองทุน แยกกันดี?

หากต้องการความคุ้มครองสูง แนะนำให้ซื้อ Unit Linked

แต่หากต้องการเน้นมูลค่าสะสมของเงินลงทุนแนะนำซื้อแยกกันดีกว่าครับ

Unit Linked ลดหย่อนภาษีได้ไหม

Unit Linked ลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่เต็มทั้งจำนวน โดยส่วนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้คือส่วนที่เป็นประกันชีวิต ค่าธรรมเนียมต่างๆ ยกเว้นส่วนของกองทุนรวม

ดังนั้นยิ่งซื้อประกัน Unit Linked นานเท่าไหร่ ค่าธรรมเนียมต่างๆก็จะลดลงมากเท่านั้น ทำให้ประกัน Unit Linked สามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่เต็มทั้งจำนวน

ทุนประกันชีวิตของ Unit Linked ซื้อได้วงเงินเท่าไหร่บ้าง

หากเป็นเพศชาย ความคุ้มครองที่ซื้อได้อยู่ที่ 50-200 ของเบี้ยที่ส่ง

ส่วนเพศหญิงอยู่ที่ 50-250 เท่าของเบี้ยที่ส่ง ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับอายุด้วย

เช่น เพศชาย จ่ายเบี้ยปีละ 12,000 สามารถเลือกความคุ้มครองได้ตั้งแต่ 600,000 – 2,400,000 บาท

LGBTQ+ สามารถทำประกันให้กันได้ไหม

1. หากแต่ละคนมีการทำธุรกรรมทางการเงินร่วมกันมาเป็นระยะเวลานาน สามารถนำหลักฐานดังกล่าวมาให้บริษัทพิจารณารับประกันได้ เพื่อให้อีกฝ่ายเป็นผู้รับผลประโยชน์

2. สามารถทำได้หากทั้งสองคนทำประกันพร้อมกัน และต่างมอบให้อีกฝ่ายเป็นผู้รับผลประโยชน์

Unit Linked ต้องจ่ายเบี้ยกี่ปี

ขึ้นอยู่กับแต่ละแผน แต่ละบริษัท

หากเป็น BLA Premier Link ของกรุงเทพประกันชีวิต ในแผนระบุว่า 99/99 = จ่ายทุกปีจนถึงอายุ 99 ปี แต่ในความเป็นจริง สามารถกำหนดระยะเวลาการจ่ายเบี้ยได้เอง

Unit Linked เหมาะกับใคร?

ประกันยูนิต ลิ้งค์ เหมาะกับ
1. หัวหน้าครอบครัวที่ต้องการความคุ้มครองสูง
2. ผู้ปกครองที่ต้องการวางแผนการศึกษาให้บุตร
3. ผู้ที่ต้องการวางแผนประกันสุขภาพระยะยาว (Long-term Healthcare)
4. ผู้ที่อายุไม่เกิน 45 ปี

จัดพอร์ตการลงทุน Unit Linked อย่างไรดี?

สำหรับกองทุน Unit Linked ของกรุงเทพประกันชีวิต จะมีทั้งหมด 18 กองทุนจากหลากหลายบลจ. โดยฟลุคขออนุญาตคัดมาให้เด็ดๆ 4 กองทุน
1.ตราสารหนี้ KFSPLUS-A (Krungsri)
2.หุ้นไทย TSF-A (Tisco)
3.หุ้นตปท. BGLOBAL (Bualuang)
4.หุ้นตปท. PRINCIPAL GOPP-C

Similar Posts