ประกันออมทรัพย์ VS กองทุน TESG แบบไหนคุ้มค่ามากกว่ากัน?

ประกันออมทรัพย์ VS กองทุน TESG แบบไหนคุ้มค่ามากกว่ากัน?

ในช่วงต้นปี 2567 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการวางแผนลดหย่อนภาษีที่ดีเพราะหลายๆท่านรวมถึงตัวฟลุคเองในอดีตจะยุ่งกับการทำงานมากๆ รู้ตัวอีกทีก็ปั้งงงง วางแผนภาษีอาทิตย์สุดท้ายก่อนิดปี 5555

อย่างไรก็ตามฟลุคขอเสนอแนวทางใหม่ วางแผนภาษีตั้งแต่ต้นปี ทำให้เราสามารถบริหารรายรับ รายจ่ายต่างๆได้คล่องตัวมากขึ้นมาก (เชื่อฟลุค มันดีจริงๆ คล่องตัวจริงๆ) คงจะเป็นเรื่องน่าเสียดายพอสมควร หากได้อ่านบทความนี้ในโค้งสุดท้ายของเดือนธันวาคม เพราะหากวางแผนช้าหลายๆบริษัทประกันหรือบลจ.เท่าที่สังเกตปีสองปีหลังๆปิดรับลูกค้าใหม่เร็วขึ้น ปิดตั้งแต่ 26 ธันวาคมบ้าง 30 บ้าง หรืออาจเร็วกว่านั้นในช่วงการจ่ายภาษี 2567

ซึ่งบทความนี้เราได้นำข้อมูลต่างๆและเปรียบเทียบความเหมือนและต่าง ที่เกี่ยวข้องกับ  “ประกันออมทรัพย์” และ “กองทุน TESG” เพื่อช่วยให้เพื่อน ๆ มองเห็นตัวเลือกที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุด แต่ถ้าคุณยังไม่ชัวร์ สามารถแอด LINE @wunlawealth (มี @ ด้วยนะครับ) เข้ามาคุยกับเราได้ เราพร้อมมอบคำปรึกษาที่ใส่ใจที่สุดให้กับคุณคนสำคัญ

และมีข่าวดีเพิ่มเติม คือ กองทุน TESG สามารถใช้ลดหย่อนภาษีในปี 2567 และปีต่อๆไปได้ด้วยนะครับ (จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง)

1. ทำความรู้จักกับประกันออมทรัพย์และกองทุนTESG 

หากคุณไม่ได้เป็นคนที่สนใจเรื่องของการเงินการลงทุนมากนัก หรือ เพิ่งจะเริ่มวางแผนในเรื่องของภาษีเป็นครั้งแรกๆ อาจจะไม่ค่อยคุ้นชื่อของ ประกันออมทรัพย์(หรืออีกชื่อว่าประกันสะสมทรัพย์) โดยเฉพาะกองทุน TESG ยิ่งแล้วใหญ่ เหนือสิ่งอื่นใด จากที่เราเกริ่นไปข้างต้น ว่า ทั้งคู่คือตัวช่วยในการ “ลดหย่อนภาษี” ได้เป็นอย่างดี ซึ่งภาษีนั้นเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน ไม่ว่าจะอยู่หรือไปแล้วก็ยังต้องเสียภาษีเลยครับ (เป็นมุขที่ชอบเล่นกันในคลาสเรียนภาษีหลายๆครั้ง) ดังนั้นเรามาดูกันเลยดีกว่าว่าทั้งคู่คืออะไร และสามารถช่วยลดหย่อนภาษีได้เหมือน/ต่างแค่ไหน อันไหนที่เหมาะกับเรา

1.1 ประกันออมทรัพย์คืออะไร ? 

ประกันออมทรัพย์
ประกันออมทรัพย์

ประกันออมทรัพย์ หรือ ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ คือประกันชีวิตรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมากๆในหมู่คนไทยเนื่องจากคนไทยเป็นคนชอบเก็บเงิน โดยประกันรูปแบบนี้พูดง่ายๆ คือ 

  • ได้ออมเงิน
  • พร้อมความคุ้มครองชีวิต
  • และได้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี

    โดยจะมีการกำหนดระยะเวลาการส่งเบี้ยประกันเอาไว้ เมื่อครบอายุกรมธรรม์ก็จะได้รับเบี้ยประกันที่ส่งไปคืนเป็นเงินก้อน พร้อมกับผลตอบแทนที่ต้องบอกเลยว่า สูงกว่าการออมเงินในธนาคารทั่วๆไปพอสมควรเลยทีเดียว

ซึ่งประกันออมทรัพย์นั้นมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อแต่ละคน โดยที่แตกต่างกันจะเป็นส่วนของ
1.เบี้ยประกันขั้นต่ำ
2.ระยะเวลาการจ่ายเบี้ย และจำนวนปีที่ต้องถือกรมธรรม์
3.ผลตอบแทน และ/หรือ เงินปันผล
4.เงินคืนระหว่างปี เป็นต้น

ในส่วนของสิทธิ์การลดหย่อนภาษี สามารถนำเบี้ยประกันที่ออมในปีนั้นๆ ยื่นภาษีตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท

สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่

1.2 กองทุน TESG คืออะไร ?

กองทุนรวม กองทุน TESG
กองทุนรวม กองทุน TESG

กองทุน TESG // Thai ESG กองทนหรือชื่อในภาษาไทยคือ “กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน” เป็นอีกหนึ่งชนิดของกองทุนรวมที่เพิ่งเปิดให้ร่วมลงทุนเมื่อช่วงสิ้นปี 2566 ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งเป็นกองทุนที่มุ่งเน้นด้านการลงทุนในหุ้นภายในประเทศ และตราสารหนี้เป็นหลัก มีจุดมุ่งหมายไปที่หุ้นของบริษัทที่ตรงตามหลักเกณฑ์ของ ESG ย่อมาจาก
E” Environmental (สิ่งแวดล้อม) 
S” Social (สังคม) และ
G” Governance (ธรรมาภิบาล) d tesg

เมื่อพูดถึงกองทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้ ก่อนจะมีกองทุน TESG ก็จะมีกองทุนอย่าง RMF, LTF และ SSF ซึ่งจะเป็นการลงทุนที่รัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยมีเงินเพื่อการเกษียณโดยมาในรูปแบบของการสามารถนำเงินลงทุนเหล่านี้ ไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนทางภาษีได้ 

ภาพรวมของการลงทุนนั้นจะมีความคล้ายกับ LTF สูงมากและจะต้องถือไว้นานกว่า LTF เล็กน้อยคือ 8 ปี ซึ่งนับแบบวันชนวัน เดือนชนเดือน ปีชนปี ส่วน sector ที่ไปลงทุนก็คือ “ทั้งหุ้นและ/หรือตราสารหนี้ในประเทศไทย”

สำหรับสิทธิ์ทางภาษีของกองทุน TESG จะเพิ่มวงเงินค่าลดหย่อนในหมวดบำนาญได้อีก 100,000 บาท (จาก 500,000 เป็น 600,000 บาทนั่นเอง)

ข้อจำกัด TESG: จำกัดการลงทุนแค่ในไทย ดังนั้นส่วนตัวแนะนำซื้อเป็น SSF/RMF ดีกว่าที่เพิ่มช่องทาง หรือ options การลงทุนไปต่างประเทศไทย รวมถึงตัวเลือก sector และความเสี่ยง ที่หลากหลายมากกว่า TESG ค่อนข้างมาก

2. เปรียบเทียบระหว่างประกันออมทรัพย์VS กองทุน TESG แบบไหนดีกว่ากัน ?

วางแผนภาษี
วางแผนภาษี

สุดท้ายแล้วถ้าจะให้เปรียบเทียบระหว่าง การทำประกันออมทรัพย์และ การซื้อกองทุน TESG แบบไหนจะดีกว่ากัน ? คงตอบได้ยาก เพราะว่ากันตามจริง ทั้งคู่ก็มีจุดเด่น จุดด้อยไม่เหมือนกัน ถ้าให้ตอบอย่างตรงไปตรงมามากที่สุด คงต้องขอบอกว่า “ขึ้นอยู่กับแต่ละท่านเลยครับ” แต่!! เพื่อให้เห็นภาพง่ายกว่าเดิม เราจะขอวาดภาพให้เห็นแต่ละมุม เพื่อนำไปพิจารณากันดูนะครับ มาดูกันว่า ประกันออมทรัพย์ และ กองทุน TESG จะอันไหนเหมาะกับเราอย่างไรบ้าง?

2.1 ประโยชน์ด้านของการลดหย่อนภาษี

ถ้าว่ากันด้วยเรื่องของ “ประโยชน์ด้านการลดหย่อนภาษี” ในส่วนนี้ต้องขอบอกเลยว่า ทั้ง ประกันออมทรัพย์และ กองทุน TESG สามารถใช้สิทธิ์ทางภาษีได้ “เทียบเท่ากัน” เนื่องจากสามารถลดหย่อนภาษีได้อยู่ที่ 100,000 บาทเท่า ๆ กัน เงื่อนไขเองก็ไม่ได้ทับซ้อนกันอีกด้วย ดังนั้นถ้าใครที่มีเงินเหลือ จะลงทุนกับทั้งคู่เลย ก็ถือว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว 

สำหรับผู้ที่มีรายได้เยอะ หรือค่าลดหย่อนเต็มเกือบทุกหมวดแล้ว สามารถซื้อกองทุน TESG อีก 100,000 บาทเข้ามาในพอร์ตได้ และหากไม่ชอบหุ้นไทย หรือกลัวความเสี่ยง สามารถซื้อกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับพันธบัตร เพื่อลดความเสี่ยง และความผันผวนของพอร์ตการลงทุนได้เช่นกัน

2.2 ระยะเวลาการถือครอง

หากพูดถึงระยะเวลาการถือครองเมื่อเทียบกับสินทรัพย์การลงทุนหรือค่าลดหย่อนต่างๆก็ถือว่าสั้นที่สุด ณ ปัจจุบัน เนื่องจาก
– TESG ต้องถือไว้ขั้นต่ำ 8 ปี (หรือจะถือไว้นานกว่านั้นก็ได้) – สั้นที่สุด
– SSF ขั้นต่ำ 10 ปี
– ประกันชีวิต/ประกันออมทรัพย์ ขั้นต่ำ 10 ปี
ประกันบำนาญ (เริ่มจ่าย 55 หรือ 60 ปีแล้วแต่สินค้าแล้วแต่บริษัท)
– RMF/กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (สามารถขายออกมาได้แบบไม่ผิดเงื่อนไข คือ 55 ปีบริบูรณ์) เป็นต้น

2.3 ความเสี่ยงที่จะต้องแบกรับ

ในเรื่องของความเสี่ยง ต้องขอเริ่มที่ 

  • ประกันออมทรัพย์ = การลงทุนไร้ความเสี่ยงแบบ 100% หากคุณถือครองประกันจนครบสัญญา การันตีได้เลยว่าเบี้ยประกันที่เสียไปคุณจะได้กลับมา พร้อมด้วยดอกเบี้ยที่เป็นค่าตอบแทนที่คุ้มค่า 
  • กลับกัน TESG เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงระดับ 5 ถึง 6 ซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงปานกลางค่อนไปสูงเลยทีเดียว แต่ถึงอย่างไร ในกรณีที่คุณไม่อยากแบกรับความเสี่ยง ใน TESG ก็ยังมีกองทุนที่น่าสนใจอยู่คือ

    กองทุนความเสี่ยงระดับพันธบัตรรัฐบาล ที่จะลงทุนในพันธบัตร ความเสี่ยงจะน้อยกว่ากองทุนหุ้นอื่น ๆ อยู่พอสมควร
    • KKP GB THAI ESG” 
    • “B-SI-THAIESG” – IPO 2-9 เมษายน 2567

3. บทส่งท้าย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ? จากเนื้อหาทั้งหมดที่เรากล่าวไปข้างต้น คุณพอจะมองออกแล้วหรือยังว่า ระหว่าง ประกันออมทรัพย์ และ กองทุน TESG การลงทุนในรูปแบบไหนเหมาะสมกับตัวคุณมากที่สุด ในโค้งสุดท้ายของการยื่นภาษีปี 2567 เราหวังว่าบทความนี้ จะช่วยให้คุณมองเห็นช่องทางในการลดหย่อนภาษีที่เหมาะกับตัวคุณ 

  • หากคุณกังวลเรื่องระยะเวลาการส่ง ไม่อยากผูกมัด แนะนำ TESG
  • หากคุณกลัวความเสี่ยง แนะนำ ประกันสะสมทรัพย์
  • หากคุณรายได้สูง แนะนำซื้อประกัน กองทุน อย่างอื่นให้เต็มก่อนแล้ว TESG เป็นอย่างสุดท้าย (ถ้าอยากใช้สิทธิ์ให้เต็มที่)
  • แต่หากคุณรายได้สูงและไม่ชอบเสี่ยง แนะนำซื้อประกัน กองทุน RMF/SSF ให้เต็มก่อน แล้วค่อยซื้อ TESG ที่ความเสี่ยงระดับพันธบัตร ตัวอย่างกองทุนอย่างที่ได้แจ้งไว้ด้านบนครับ

สำหรับผู้ที่สนใจในเรื่องของการลงทุนผ่านกองทุนรวมหรือประกันต่างๆ เรามีเครื่องมือที่พร้อมสนับสนุนการวางแผนภาษีของคุณในทุกๆด้าน โดยเรามีบริการเปิดบัญชีลงทุนกองทุนกับบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน (บลน.) ชั้นนำอย่าง Finnomena และบมจ.กรุงเทพประกันชีวิตหากนี่คือบริการที่คุณกำลังสนใจ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับเราได้เลยตอนนี้

ปรึกษาเราฟรี

Fluke 640 640
line add friend

โทร 080-294-5216
อีเมล contact@wunlawealth.com

กองทน tesg คออะไร thailand esg f thailand esg fund tesgun เปนตนไป ตงเปาระดมเงนลงทนได หมนลานในปน หนนการลงทนยงยน พรอมคนภาษ

Similar Posts