Unit link คืออะไร ทำไมถึงตอบโจทย์คนยุคใหม่ได้มากขนาดนี้?
Unit Link (UL) – ยูนิต ลิงค์ คืออะไร?
ประกันชีวิต Unit Link (UL) หรือยูนิต ลิงค์ คือ ประกันชีวิตควบการลงทุน โดยประกันชีวิตแบบดั้งเดิมเบี้ยที่เราจ่ายเข้าบริษัทประกัน บริษัทจะนำไปลงทุนให้เราด้วยพอร์ตการลงทุนแบบเสี่ยงต่ำโดยเฉพาะในตราสารหนี้/พันธบัตรรัฐบาล ต่อมาได้กำเนิดประกันชีวิตรูปแบบใหม่ขึ้น โดยเปลี่ยนจากพอร์ตที่บริษัทกำหนดไว้ตายตัว (และเราไม่รู้ไส้ใน) เปลี่ยนเป็นให้ลูกค้าเป็นผู้กำหนดเลือกพอร์ตการลงทุนได้เอง อีกทั้งยังสามารถลงทุนในทรัพย์สินที่เสี่ยงขึ้นได้ ไปต่างประเทศได้ เพื่อเพิ่มโอกาสและผลตอบแทนจากการลงทุน มากไปกว่านั้น UL จะเห็นผลอย่างชัดเจนเมื่อเกิดการลงทุนแบบระยะยาว
เนื่องจากเบี้ยประกันหลังหักค่าใช้จ่ายจะถูกนำไปลงทุนผ่านกองทุนรวม (ทบไปอย่างนี้ทุกปี) หากเกิดเราลืมจ่ายเบี้ยปีใดปีนึง บริษัทประกันจะขายเงินในกองทุนมาจ่ายเบี้ยให้เราโดยอัตโนมัติทำให้ได้รับความคุ้มครองต่อเนื่อง หากเป็นประกันรูปแบบเดิม จะต้องทำเรื่องขอต่ออายุหลายขั้นตอนพร้อมเอกสารอีกเป็นตั้ง และฟลุคจะแนะนำว่าประกันชีวิตควบการลงทุนตอบโจทย์พวกเราได้อย่างไรบ้างผ่านสินค้า Unit link pantip
UL แก้ปัญหาประกันแบบดั้งเดิมได้ – เล่มเดียว ครบ จบ ทุกอย่าง

ในแต่ละช่วงชีวิต เราจำเป็นที่จะต้องมีความคุ้มครองชีวิต (ทุนประกันชีวิต) ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับภาระ หนี้สิน และความจำเป็นซึ่งแตกต่างกันออกไปสำหรับแต่ละบุคคล จากภาพด้านบนจะเห็นได้อย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่นตัวฟลุคเอง
1.ฟลุคเริ่มทำงานตอนอายุ 25 ปี อยากมีความคุ้มครองให้ตัวเอง 1,000,000 บาท ฟลุคจึงซื้อกรมธรรม์เล่มแรกให้ตัวเอง
2.หลังจากนั้นมีแพลนที่จะแต่งงานและมีลูก โดยความห่วงฟลุคคืออยากให้ลูกเรียนจบปริญญาตรีในประเทศ คำนวณแล้วต้องใช้เงินจำนวน 7,500,000 บาท จึงต้องซื้อกรมธรรม์อีกเล่มนึงเพื่อให้ได้ความคุ้มครองตามที่ตั้งเป้าไว้
3.พอลูกเรียนจบตอนอายุ 21 ซึ่งเราก็จะอายุ 56 พอดี ถึงตอนนั้นเราใกล้เกษียณ ไม่มีอะไรที่ต้องห่วงอีกต่อไป ต้องการปลดภาระค่าใช้จ่ายออกไปให้เยอะที่สุด แต่ก็ต้องมีประกันสุขภาพไว้สำหรับเกษียณ จึงต้องมีกรมธรรม์อีกเล่มนึงสำหรับสุขภาพอย่างเดียว
ซึ่งทุกท่านจะเห็นว่าแต่ละเป้าหมายของเราจะต้องมีกรมธรรม์ 1 เล่ม ทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน โดยหากเราซื้อกรมธรรม์แบบเดิม เราจะต้องซื้อมากถึง 3 เล่มเพื่อให้ความคุ้มครองตอบโจทย์แต่ละช่วงของชีวิต แต่หากเป็น UL เราสามารถถือกรมธรรม์เดียวยาววววววว ได้ตลอดชีวิตเลยครับ ถือว่าเป็นกรมธรรม์แบบ one-size fits all ไหม…. จริงๆ คือไม่เนื่องจาก UL สามารถพูดได้ว่าเป็นประกันชีวิตแบบ DIY สามารถกำหนดความคุ้มครอง เบี้ยประกัน และระยะเวลาการจ่ายเบี้ยเองได้ทั้งหมด ถือว่าเป็นประกันชีวิตชนิดหนึ่งที่มีความยืดหยุ่นสูงที่สุดในตลาดเลยก็ว่าได้ (ต้องยกนิ้วให้คนออกแบบเลยจริงๆ)
UL แก้ปัญหาประกันแบบดั้งเดิมได้อย่างไร?
ปัญหาของประกันชีวิตแบบดั้งเดิม
- ประกันชีวิตแบบดั้งเดิมมักจะมีการ (1) กำหนดระยะเวลาการส่งเบี้ยและระยะเวลาความคุ้มครองแบบตายตัว เช่น ส่งเบี้ย 20 ปี คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี แต่ถ้าเกิดว่าตอนนั้นเราอายุ 50 แล้วอยากเกษียณ 60 ล่ะ … ฉันจะต้องส่งเบี้ยอีก 10 ปีหลังเกษียณใช่ไหม? หรือแม้แต่ ฉันอยากได้ความคุ้มครองแค่ 10 ปี แต่พอปีที่ 10 ฉันไม่อยากให้เบี้ยประกันทุกอย่างเป็นเบี้ยทิ้งเหมือนประกันรถ ต้องทำยังไงดี? – UL สามารถแก้โจทย์นี้ได้อย่างสบาย
- หากเปรียบเทียบเรื่อง (2) ความคุ้มครองและ (3) เบี้ยประกันระหว่าง UL กับประกันแบบดั้งเดิมทั้งแบบตลอดชีพ (whole-life) และแบบชั่วระยะเวลา (term)
- นิยามคำศัพท์
1.Unit-linked = ประกันชีวิตแบบยูนิต ลิงค์
2.ประกัน whole-life = ประกันคุ้มครองสูง คุ้มครองยาวถึงอายุ 90-99 ปี ขึ้นกับแบบของแต่ละบริษัท โดยที่ประกันชีวิตแบบนี้จะมีมูลค่าสะสมคล้ายๆกับกระปุกออมสิน
3.ประกัน term = ประกันคุ้มครองชั่วระยะเวลา หมายความว่าคุ้มครองแบบจำกัดเวลา โดยเราสามารถเลือกได้ เช่น 10 15 20 ปี
ประเภทแบบประกัน | Unit-linked 99/99 | Whole-life (ดั้งเดิม 1) 99/20 | Term (ดั้งเดิม 2) 20/20 |
ความคุ้มครอง (บาท) | 2,000,000 | 2,000,000 | 2,000,000 |
เบี้ยประกันต่อปี (บาท) | 12,000 | 53,280 | 19,796 |
ปล. 99/20 หมายความว่า ชำระเบี้ย 20 ปี คุ้มครองถึงอายุ 99 ปี (ตัวเลขน้อยกว่าคือจำนวนปีที่ต้องชำระเบี้ย ส่วนตัวเลขที่มากกว่าคือคุ้มครองถึงอายุเท่าไหร่)

- จากการเปรียบเทียบที่ความคุ้มครอง 2,000,000 บาทเท่ากันจะเห็นว่า UL จะจ่ายเบี้ยน้อยที่สุด ในบรรดาทุกแบบประกัน นอกจากนี้ UL ยังสามารถทำความคุ้มครองได้สูงที่สุด ถึง 2,400,000 บาทแม้ว่าจะจ่ายเบี้ยน้อยที่สุดก็ตาม (ในตารางใส่ไว้แค่ 2,000,000 บาทเพื่อที่ทำให้เปรียบเทียบได้ แต่ความคุ้มครองของ UL ณ เบี้ยหนึ่งๆจะเลือกความคุ้มครองเป็น range ได้ เช่น 600,000 – 2,400,000 บาท เป็นต้น)
ซึ่งจะเห็นว่า UL จ่ายเบี้ยถูกกว่าแบบ whole-life มากกว่า 4 เท่า! - อีกสิ่งหนึ่งทีคนในวงการมักจะเปรียบเทียบกันคือมูลค่ากรมธรรม์ เพื่อเปรียบเทียบมูลค่ากรมธรรม์ เราจะต้องกำหนดให้ทุก factor ของ “เบี้ยประกัน” เท่ากันในทุกแผนประกันที่ 15,000 บาท
Unit-linked 99/99 | Whole-life (ดั้งเดิม 1) 99/20 | Term (ดั้งเดิม 2) 20/20 | |
ความคุ้มครอง (บาท) | 750,000 | 552,707 | 1,560,532 |
เบี้ยประกัน (บาท) | 15,000 | 15,000 | 15,XXX |
มูลค่ากรมธรรม์ ณ ปีที่ | |||
20 (ณ ผลตอบแทนเฉลี่ย 3% ต่อปี) | 301,369 | 247,060 | 0 |
20 (ณ ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี) | 380,327 | 247,060 | 0 |
ซึ่งจะเห็นว่า ณ ปีกรมธรรม์ที่ 20 มูลค่ากรมธรรม์ของ UL จะมากกว่าแบบ whole-life ไม่ว่าจะจัดพอร์ตกองทุนที่ลงทุนด้วยอัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 3% หรือ 5% ต่อปีก็ตาม

ที่กรุงเทพประกันชีวิต (BLA) มีสินค้ายูนิต ลิ้งค์อยู่ 2 ชิ้น
BLA พรีเมียร์ ลิงค์ (BLA Premier Link)
ยูนิต ลิงค์แบบ DIY ที่สามารถกำหนด
1.1 ความคุ้มครอง – เลือกความคุ้มครองได้เอง
1.2 เบี้ยที่จะจ่ายได้เอง – ขั้นต่ำ 12,000 บาทต่อปี
1.3 กำหนดระยะเวลาจ่ายเบี้ยที่จะจ่ายได้เอง – แม้เงื่อนไขของกรมธรรม์แบบ UL จะระบุไว้ว่า 99/99 หมายความว่า ส่งเบี้ยถึงอายุ 99 ปี คุ้มครอง 99 ปี อย่างไรก็ตามก่อนการซื้อกรมธรรม์แบบ UL เราควรจะเลือกจุดประสงค์ก่อนว่าซื้อไป “เพื่ออะไร” เช่น หากผมต้องการซื้อไว้เพื่อจุดประสงค์คุ้มครองการศึกษาลูก หากเกิดอะไรขึ้น ลูกผมเรียนจบป.ตรีแน่นอน ผมก็อาจจะกำหนดระยะเวลาการจ่ายเบี้ย = 21 ปี เป็นต้น
BLA เวลธ์ ลิงค์ (BLA Wealth Link)
UL แบบจ่ายเงินก้อนครั้งเดียว เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนและต้องการความคุ้มครอง หรือ สร้างมรดกไว้ให้คนที่อยู่ข้างหลัง
UL แต่ละชนิดเหมาะกับใครบ้าง
- พรีเมียร์ ลิงค์ เป็นประกันชีวิตที่เหมาะกับคนที่อายุตอนเริ่มสมัครไม่มาก เช่น ไม่ควรเกิน 40 ปี เนื่องจากค่าการประกันภัยจะสูง (COI) เพราะว่าค่า COI จะแปรผันตามอายุ อายุยิ่งมาก COI ยิ่งเยอะ (ตามหลักการแล้ว)
- เวลธ์ ลิงค์ เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย แต่การลงทุนใน UL ชนิดนี้จำเป็นต้องลงเงินเป็นก้อน เช่น 200,000 บาท เป็นการชำระเบี้ยครั้งเดียว
อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ BLA พรีเมียร์ ลิงค์ ได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้