Dent Dr

Cheat sheet 1 – การคำนวณภาษี และข้อควรระวังก่อนยื่นภาษี 2567 สำหรับแพทย์และทันตแพทย์! (ภ.ง.ด.94 และภ.ง.ด.90)

จากการวางแผนให้แพทย์และทันตแพทย์จบใหม่หลายๆคน รวมถึงที่จบมาหลายปีแล้ว ฟลุคมักจะพบเทรนด์เดียวกัน คือ เกือบทุกคนมักรู้ว่า ‘หมวดอะไรสามารถลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่’ แต่สิ่งที่ทำให้ฟลุคตัดสินใจเขียนบล็อกนี้ขึ้นมาเพราะว่ามีอยู่วันนึงที่เพื่อนฟลุคที่เป็นแพทย์ทักมาถามเรื่องภาษีว่า

“ฟลุค แกช่วยเราดูหน่อยดิ๊ เห็นเขาคุยกันใน LINE กลุ่มหมอไฟไหม้ไฟแล่บแบบนี้ๆเลย คือโดนสรรพากรเรียกไปจ่ายค่าปรับเพราะยื่นภาษีผิดประเภท โดยเฉพาะอี 40(6) โดนย้อนหลังเป็นแสนเลยแก!”

ด้วยความที่เรารู้ว่ามีปัญหาแต่ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับหมอและหมอฟันอีกต่อไป…เลยตัดสินใจเขียนบล็อกนี้ขึ้นมาครับ

หวังว่าบล็อกต่อไปนี้จะเป็นประโยชน์ต่อทุกท่าน ไม่มากก็น้อยนะครับ โดยจะเขียนเป็น Guidline สอนตั้งแต่สเต็ปที่ 0-10 ให้กับทุกท่านวางแผนภาษีได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์เลยครับ 🙂


การคำนวณภาษี

รายได้

Screen Shot 2565 07 17 at 13.07.38 copy

ในการวางแผนภาษีของแพทย์ ทันตแพทย์ หรือแม้แต่อาชีพอื่นๆล้วนแล้วแต่ต้องใช้ flowchart การวางแผนภาษีตามรูปด้านล่างด้วยกันทั้งนั้น แต่สิ่งที่จะต่างกันก็คือประเภทของรายได้ การยื่นภาษี และรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ

หากแสดงให้เห็นภาพรวมคือ ยิ่งเรามีรายได้เยอะ เงินได้สุทธิ(เงินที่จะต้องนำไปคำนวณภาษี) ก็จะเยอะขึ้นตาม ดังนั้นวิธีที่จะทำให้เราเสียภาษีให้น้อยที่สุด คือการซื้อค่าลดหย่อนให้เยอะเข้าไว้ แต่ก็ต้องซื้อให้เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และเป้าหมายทางการเงิน/เป้าหมายชีวิตเราด้วยนะ ซึ่งเดี๋ยวฟลุคจะยกตัวอย่างให้ดูใน paragraph ต่อๆไป

รูปแบบรายได้แพทย์และทันตแพทย์

รูปแบบรายได้แพทย์และทันตแพทย์
รูปแบบรายได้แพทย์และทันตแพทย์

ประเภทรายได้ของแพทย์และทันตแพทย์จะมีอยู่ทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน ขึ้นอยู่กับสถานที่ทำงาน หรือสถานที่ที่เราไปรับจ็อบ หรือเวร โดยหากเรามองอีกมุมหนึ่ง และแบ่งรายได้ตามประเภทตามสถานที่ทำงาน สามารถแบ่งได้ตามรูปด้านล่างนี้

รูปแบบรายได้แบ่งตามสถานที่ทำงาน

ประเภทรายได้แพทย์และทันตแพทย์
ประเภทรายได้แพทย์และทันตแพทย์

ยกตัวอย่างเช่น หากเราเป็นแพทย์/ทันตแพทย์จบใหม่และต้องไปใช้ทุนที่โรงพยาบาลต่างจังหวัด…

หลังเวลางานเราไปรับจ็อบที่โรงพยาบาล/คลินิกอื่นๆ เราจะมีรายได้ 2 ประเภท คือ
1.รายได้จากรพ.ที่เราใช้ทุน 40(1) และ
2.รายได้จากรพ.เอกชน/คลินิกที่เราไปรับจ็อบ 40(2) หรือ 40(6) ประเภทรายได้ขึ้นอยู่กับที่ระบุในเอกสารสรุปรายได้ (ทวิ 50) ซึ่งสามารถสรุปได้ตามตารางด้านล่างนี้

สถานที่ทำงานประเภทรายได้
รพ.รัฐ40(1)
40(2)
รพ.เอกชน40(1) – กรณีเป็นแพทย์/ทันตแพทย์ประจำ ***
สามารถทำประจำได้มากกว่า 1 ที่ แต่จะต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะประจำที่รพ.ไหนบ้าง วันละกี่ชั่วโมง เป็นต้น ทั้งนี้รายละเอียดเงื่อนไขต่างๆจะต้องตกลงกับทางโรงพยาบาล/คลินิกอีกที
40(2)
40(6)
คลินิกเอกชน​
(รับจ็อบ)
40(1) – กรณีเป็นแพทย์/ทันตแพทย์ประจำ ***
40(2)
คลินิกเอกชน
(เป็นเจ้าของ)
40(6)
เปิดคลินิกเอง และรักษาเอง หรือ
คลินิกที่ไม่มีผู้ป่วยค้างคืน

40(8)
เปิดคลินิกเอง แต่ไม่ได้รักษาเอง หรือ
คลินิกที่มีเตียงให้ผู้ป่วยค้างคืน
รูปแบบรายได้แพทย์และทันตแพทย์

จากประสบการณ์การทำงานพบว่ารายได้ของแพทย์-ทันตแพทย์จะมีรายได้ด้วยกันทั้งหมด 4 ประเภท ขึ้นกับแหล่งที่มาของรายได้ว่ารับจากที่ไหน (เช่นรพ.เอกชน คลินิก) รวมถึงประเภทของรายได้ว่าเป็น 40() อะไร โดยแพทย์จะมีรายได้ทั้งหมด 4 ประเภทด้วยกัน คือ 40(1) 40(2) 40(6) 40(8) อย่างไรก็ตามตารางด้านบนเป็นเพียงแค่แนวทาง อาจมีการเปลี่ยนแปลงจากนี้ เช่น เราสามารถรับเงินเดือนประจำ 40(1) จากรพ.เอกชนได้ เป็นต้น ขึ้นกับการรับงาน การทำสัญญาจ้าง ฯลฯ

โดยรายได้แต่ละประเภทสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ต่างกัน แปรผันตามต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจะสังเกตว่า 40(1) กับ 40(2) จะหักค่าใช้จ่ายได้น้อยกว่า 40(6) เพราะ 40(1) และ 40(2) ต้องการใช้เพียงแค่แรงงานและความสามารถในการแลกมาซึ่งรายได้ แต่ 40(6) จำเป็นต้องเช่าสถานที่เพื่อตรวจคนไข้เพิ่มขึ้นด้วย จึงมีต้นทุนเพิ่มเติมขึ้นมา จึงหักค่าใช้จ่ายได้เหมาหรือหักค่าใช้จ่ายได้ตามจริง


ค่าลดหย่อน

Screen Shot 2565 07 17 at 13.12.08 copy

ค่าลดหย่อนสามารถแบ่งได้เป็น 4 อย่างด้วยกัน (แบ่งด้วยมาตรฐานนายฟลุค เพื่อความเข้าใจง่าย)

  1. ช่องทางของรายได้ หมายความว่า เป็นรายได้ประเภทไหน 40 (อะไร) เป็นต้น
  2. ค่าลดหย่อนที่ไม่ต้องซื้อ คือ ค่าลดหย่อนที่เราไม่ต้องซื้อก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น อุปการะบิดา/มารดา บุตร อุปการะผู้พิการ/ทุพพลภาพ เป็นต้น
  3. ค่าลดหย่อนที่ต้องซื้อ เช่น ประกันชีวิต RMF SSF ช้อปดีมีคืน2565 ดอกเบี้ยกู้บ้าน เป็นต้น
  4. บริจาค โดยมีบริจาคบางหมวดที่สามารถลดหย่อนได้ 2 เท่า ยกตัวอย่างเช่น สถานศึกษา และโรงพยาบาลของรัฐ เป็นต้น

ค่าลดหย่อน – จากช่องทางรายได้

Screen Shot 2565 07 17 at 13.09.00 copy
ประเภทเงินได้หักค่าใช้จ่ายได้
40(1) เงินเดือนเมื่อรวมกับ 40(2) แล้ว หักค่าใช้จ่ายได้ 50% และไม่เกิน 100,000 บาท
40(2) รับจ็อบเมื่อรวมกับ 40(1) แล้ว หักค่าใช้จ่ายได้ 50% และไม่เกิน 100,000 บาท
40(6) อาชีพอิสระ/ประกอบโรคศิลป์หักเหมา 60% หรือตามจริง
40(8) ธุรกิจ/อื่นๆหักเหมา 60% หรือตามจริง

สำหรับรายได้ประเภท 40(6) หรือ 40(8) สามารถหักลดหย่อนแบบเหมา (อัตโนมัติ 60% ได้โดยไม่ต้องใช้เอกสารหลักฐานใดๆ) แต่หากหักตามจริง จะต้องใช้เอกสารค่าใช้จ่าย เช่น บิล หรือค่าใช้จ่ายของกิจการประกอบ เป็นต้น ดังนั้นหากจะถามว่าใช้ยื่นแบบเหมา หรือตามจริงดีกว่า ให้ดูว่า…

  1. หักแบบเหมา หรือหักตามจริง สามารถหักลดหย่อนได้มากกว่า และ
  2. เอกสารพร้อมไหม

ถ้าเอกสารไม่พร้อม แนะนำหักเหมา 60% เพราะสรรพากรจะไม่เรียกตรวจ แต่ว่าหากเลือกแบบหักตามจริง สรรพากรมีสิทธิ์ที่จะสุ่มตรวจ และจะต้องยื่นเอกสารแสดงหลักฐานประกอบ

ค่าลดหย่อนที่ไม่ต้องซื้อ-ต้องซื้อ-บริจาค

Screen Shot 2565 07 17 at 13.14.15

โดยฟลุคได้ทำตารางสรุปค่าลดหย่อนประจำปี 2565 ให้ดังไฟล์ด้านล่างนี้

Checklist ลดหย่อนภาษี 2565
Checklist ลดหย่อนภาษี 2565

การคำนวณภาษีแพทย์และทันตแพทย์

เงินได้สุทธิ

Screen Shot 2565 07 17 at 13.16.25 copy

เงินได้สุทธิ หรือเงินที่ต้องนำไปคำนวณเพื่อเสียภาษี เราจะสามารถคำนวณได้ดังนี้

สมมุติว่าเรามีเงินได้สุทธิ (หลังหักค่าลดหย่อนทุกอย่างแล้ว) 1,000,000 บาท

  1. เราจะต้องนำเงิน 1 ล้านบาท ซอยย่อยเป็นช่วงๆตามตารางด้านบน เช่น 0-150,000 ก้อนนึง 150,001-300,000 อีกก้อนนึง ดังนั้นเราจะสามารถซอยเงิน 1 ล้านบาทได้เป็น 5 ก้อนตามตารางด้านบน
  2. ให้นำจำนวนเงินในแต่ละขั้น (column 3) มาคูณกับอัตราภาษีในแต่ละขั้น (column 2) จะได้ภาษีที่ต้องเสียในแต่ละขั้น (column 4)
  3. ดังนั้นภาษีที่เราต้องเสียคือ summation หรือผลรวมของภาษีในขั้นปัจจุบันและขั้นก่อนหน้านี้ทั้งหมดรวมกัน ดังนั้นหากเรามีเงินได้สุทธิ 1,000,000 บาท เราจะต้องเสียภาษี 115,000 บาท

เปรียบเทียบการคำนวณภาษี 40(2) vs 40(6)

หนึ่งในคำถามที่ถูกถามมากที่สุดว่า “รายได้ของเราเป็น 40(2) ถ้ารายได้เป็น 40(6) จะเสียภาษีน้อยลงขนาดไหน” เพราะว่า 40(2) ลดหย่อนจากช่องทางรายได้ได้มากสุดแค่ 100,000 บาท ในขณะที่ 40(6) ได้ตั้ง 60% และไม่มีเพดานเลย…

รูปแบบรายได้40(2)40(6)
จำนวนเงินได้1,000,0001,000,000
หักค่าใช้จ่ายได้100,000600,000
(เลือกหักเหมา 60%)
หักค่าลดหย่อนทั้งหมด (ส่วนตัวอย่างเดียว)60,00060,000
เงินได้สำหรับคำนวณภาษี840,000340,000
ภาษีที่ต้องเสีย83,00011,500

ซึ่งจะเห็นว่าการที่เราใส่รายได้ตอนยื่นภาษีแบบ 40(6) จะทำให้เราประหยัดภาษีขึ้นเยอะมาก น้อยลงเกือบๆ 8 เท่า
ถึงแม้ว่าตัวเลขมันจะดูเย้ายวนจิตใจเหลือเกิ๊นนนนนนน……

แต่ แต่ แต่!!! เราไม่สมควรทำ ถ้ามันไม่ถูกต้อง!

ซึ่งในตลาดตอนนี้พบปัญหานี้บ่อยมากกกกกกกกก และยังเป็นประเด็นที่ HOT HIT มากๆในไลน์กลุ่มแชทแพทย์ หรือแม้แต่กลุ่มเฟสปิดของหมอๆ ทันตะๆ ทั้งหลาย คือ

สรรพากรสุ่มตรวจสอบ
พบว่าเรา/เพื่อนเรายื่นผิด!
โดนจ่ายภาษียอนหลัง + ดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน!

ดังนั้นจากตัวอย่างด้านบน หากเรายื่นรายได้เป็น 40(6) แต่จริงๆต้องเป็น 40(2) เราจะต้องโดน “จ่ายภาษีย้อนหลังเพิ่มอีก (83,000-11,500) = 71,500 + ดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน”


ปัญหาที่มักพบ ข้อควรระวัง และวิธีแก้ไข

1.คลินิกยื่นรายได้ให้ผิดวงเล็บ 40(_)

รับจ็อบคลินิก ใส่รายได้ให้ผิดวงเล็บ

จากประสบการณ์การทำงานพบว่าปัญหาที่พบบ่อยมักเป็นรายได้จากการรับจ็อบที่ “คลินิก” โดยประเภทรายได้ที่ทางคลินิกออกให้คือ 40(6)

  • หากเราเป็นเจ้าของคลินิกเอง สามารถยื่นรายได้เป็น 40(6) ได้
  • หากเรา “รับจ็อบ” ตามคลินิก เราจะต้องยื่นรายได้เป็นแบบ 40(2) เท่านั้น มิฉะนั้นอาจถูกสรรพากรสุ่มตรวจสอบ และหากเกิดสุ่มตรวจสอบ “ย้อนหลัง” งานจะเข้าไม่ใช่น้อย

แม้ว่ารายได้ของเราจะระบุในเอกสารเป็น 40(6) แต่ถ้ามันต้องใส่เป็น 40(2) คือเอาตัวเลขมาพิมพ์ใส่ได้ในช่อง 40(2) เลยครับ

การยื่นภาษีแพทย์ การยื่นภาษีทันตแพทย์

ในหมวดสุดท้าย สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือการยื่นภาษี ทั้งแพทย์และทันตแพทย์ หากมีรายได้ 40(5)-40(8) ในช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย. รวมกันมากกว่า 60,000 บาท จะต้องยืนภาษีครึ่งปี หรือ ภ.ง.ด.94 ด้วย เพื่อเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระภาษีของผู้เสียภาษีท่านนั้น เนื่องจากบุคคลที่มีรายได้ 40(5)-(8) มักเป็นผู้ที่มีรายได้สูง

เนื่องจากการยื่นภาษีครึ่งปี ค่าลดหย่อนต่างๆก็จะถูกหักน้อยลงครึ่งนึงด้วย อย่างไรก็ตามแนะนำให้ใช้ตารางจากลิงค์ด้านล่างเป็นเกณฑ์ reference นะครับ

Screen Shot 2565 07 17 at 13.57.57 copy

หลังจากที่เรายื่นภาษีครึ่งปีไปแล้ว เราจะต้องยื่นภาษีเต็มปีอีกครั้ง โดยเราจะต้องนำรายได้ “ทุกประเภท” มาคำนวณรวมกันใหม่อีกรอบ เพราะการยื่นภาษีครึ่งปีเป็นการคำนวณรายได้แค่ 40(5)-40(8) แต่การยื่นภาษีแบบเต็มปีเป็นการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีของรายได้ทุกประเภท 40(1)-40(8) ถ้าอธิบายให้เห็นภาพคือการคำนวณภาษีเต็มปีเป็นเหมือนการ ล้างไพ่

ไม่ว่าตอนยื่นภาษีกลางปีเราจะเสียภาษีให้สรรพากรไปเท่าไหร่ เราสามารถนำยอดภาษีที่จ่ายไปแล้วเมื่อครึ่งปี ไปหักออกจากยอดภาษีที่ต้องชำระของภาษีเต็มปีได้ เช่น ยื่นภาษีกลางปี (ภ.ง.ด.94) เราจ่ายให้สรรพากร 20,000 บาท แล้วพอคำนวณภาษีเต็มปี (ภ.ง.ด.90) เรียบร้อยแล้ว คำนวณแล้วต้องเสียภาษีทั้งสิ้น 80,000 บาท เราก็แค่จ่ายเพิ่มเพียงแค่ 60,000 บาท เป็นต้น

หลังจากที่ปูพื้นทุกท่านให้เห็นการยื่นภาษีแบบภาพรวมว่าส่วนใหญ่ แพทย์และทันตแพทย์จะต้องยื่นภาษีทั้งหมด 2 รอบ คือรอบครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) และเต็มปี (ภ.ง.ด.90) ดังนั้นใน blog ต่อไปฟลุคได้แปะขั้นตอนการยื่นภาษีง่ายๆแบบจับมือทำโดย ‘CLICK’ ที่ปุ่มด้านล่างนี้ 👇


สำหรับ Episode คำนวณภาษี ยื่นภาษีแพทย์ และค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94 เรายังมีอีก 2 ตอนให้อ่านกันนะครับ โดยคลิกที่ลิ้งค์ด้านล่าง 🙂

กำลังมีปัญหากับภาษีอยู่ใช่ไหม?

คลิกเพื่อคุยกับนักวางแผนภาษีของเราตอนนี้!

Fluke 640 640
line add friend

โทร 080-294-5216
อีเมล contact@wunlawealth.com


คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

ยื่นภาษีครึ่งปี ขอภาษีคืนได้ไหม?

ไม่ได้ สามารถขอภาษีคืนได้เฉพาะตอนยื่นภาษีเต็มปีเท่านั้น

และสิ่งที่เศร้าไปกว่านั้นก็คือหากเราต้องจ่ายภาษีครึ่งปีเพิ่ม ต้องจ่ายทันที ยกยอดไปจ่ายรวดเดียวตอนยื่นภาษีเต็มปีไม่ได้นะเออ ต้องจ่ายเลยเท่านั้น -*-

(ตอนให้จ่ายอ่ะเร็วจัง พอขอคืนน่ะไว้ก่อน แหม่)

คลินิกระบุรายได้เป็น 40(6) แต่เรารับจ็อบอย่างเดียว ไม่ได้เป็นเจ้าของคลินิก ยื่นภาษียังไงดี?

ตอนยื่นภาษีเต็มปี ให้นำรายได้ของ 40(6) ใส่ในช่อง 40(2) ได้เลยครับ

Similar Posts