ยื่นภาษี ลดหย่อนภาษีครึ่งปี ภงด.94 2565

Cheat sheet 3 – ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี 2567 (ภ.ง.ด.94) มีอะไรบ้าง? – รู้งี้ SAVE ภาษีได้ตั้งนานแล้ว!

Pongpawan Sethanant WunLaWealth financial advisor MDRT ตัวแทนประกันชีวิตดีเด่นแห่งชาติปี 2024
Pongpawan Sethanant WunLaWealth financial advisor MDRT ตัวแทนประกันชีวิตดีเด่นแห่งชาติปี 2024

สำหรับค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี หรือค่าลดหย่อนภาษี 2567 ฟลุคมักจะพบปัญหาเหล่านี้ซึ่งคิดว่าหลายๆท่านก็น่าจะมีปัญหาเดียวกัน นั่นก็คือ การ search หาค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี 2567 ภงด.94 หรือ PND94 (ภาษาอังกฤษ) ว่ามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง ซึ่งส่วนตัวแล้วคิดว่าเป็นปัญหาโลกแตก เพราะมันหาในเว็บไม่ได้เลย!

ในฐานะที่ปรึกษาการเงิน (และต้องยื่นเองด้วย) ผมเลยทำสรุปตารางค่าลดหย่อนภาษี 2567 ครึ่งปีต่างๆไว้ด้านล่างให้ทุกท่านนำไปใช้เรียบร้อยในแล้วนะครับ

นอกจากค่าลดหย่อนฯที่ผมสรุปมาให้แล้ว ในโพสนี้ยังแถมเนื้อหาสำคัญไว้ให้ด้วย นั่นก็คือ คำถามที่พบบ่อยที่สุดจากการทำงานในอาชีพที่ปรึกษาการเงินมาตลอด 4 ปี เกี่ยวกับ ภงด.94 หรือการยื่นภาษี คือ

  1. ฉันไม่รู้ว่า “ฉันต้องใช้แบบ ยื่นภาษี ภงด.” อะไร
  2. เรามีสิทธิ์ลดหย่อนอะไรบ้าง? ใช้ครบหรือยัง!?!
  3. จะใช้สิทธิ์ลดหย่อนนั้นๆ ต้องใช้เอกสารประกอบอะไรบ้าง?
  4. “อ้าว! ฉันต้องยื่นครึ่งปีด้วยหรอ!?!”
  5. ลืมยื่นภาษีต้องทำยังไง!
  6. ผิดเงื่อนไขกองทุน RMF/SSF ทำยังไงดี!

    หากโพสนี้ได้ cover จุดไหนแล้วบ้างจะมี ✅ นะครับ
    (ซึ่งฟลุคจะทยอยโพสคอนเท้นต์เหล่านี้เป็นตอนๆให้นะครับ)

รายได้ของคนไทยมี 8 ชนิด

ประเภทเงินได้ตัวอย่างค่าลดหย่อนจากช่องทางรายได้
40(1)เงินเดือน โบนัส เบี้ยเลี้ยงหักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (ใช้ค่าลดหย่อนร่วม 40(1)+40(2))
40(2)ค่าจ้างที่รับเป็นจ็อบๆ ค่าคอมมิชชั่น ค่านายหน้าหักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
(ใช้ค่าลดหย่อนร่วม 40(1)+40(2))
40(3)ค่าลิขสิทธิ์หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
40(4)ดอกเบี้ย เงินปันผลหักค่าใช้จ่ายไม่ได้
40(5)ค่าเช่าตามจริงหรือเหมาจ่าย 10-30%
40(6)วิชาชีพอิสระ ประกอบด้วย
ผู้ประกอบโรคศิลปะ/ทนาย/วิศวกร/สถาปัตย์/นักบัญชี
ตามจริงหรือเหมาจ่าย 30%, 60%
40(7)รับเหมาก่อสร้างโดยที่ผู้รับเหมาจะต้องเป็นผู้ที่จัดหาสัมภาระเองตามจริงหรือเหมาจ่าย 60%
40(8)รายได้ช่องทางอื่นๆที่ไม่เข้าข่าย 40(1)-(7)ตามจริงหรือเหมาจ่าย
ตารางแสดงชนิดของรายได้ของคนไทยพร้อมแสดงตัวอย่าง

รายได้แบบเราต้องยื่นครึ่งปี หรือ เต็มปี?

หลังจากที่เราทราบชนิดของรายได้ของเราแล้ว เราจะสามารถทราบได้ว่าเราจะต้องยื่นภาษีแบบไหนดังตารางด้านล่างนี้

หากเรามีรายได้ครึ่งปี (1 ม.ค.-31 มิ.ย.) ชนิด 40(5)-40(8) ไม่ถึง 60,000 บาท ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีครึ่งปี ให้ยื่นแบบเต็มปีอย่างเดียวและทีเดียว แต่หากมีรายได้ครึ่งปีเกิน 60,000 บาท “ต้อง” ยื่นทั้งภาษีครึ่งปีและเต็มปีด้วย

ลักษณะรายได้ของผู้เสียภาษียื่นภาษีครึ่งปียื่นภาษีทั้งปี
1บุคคลผู้มีรายได้ 40(5)-40(8)
(ในครึ่งปีแรก และ/หรือ ครึ่งปีหลัง)

ภ.ง.ด.94
ยื่นรายได้ 40(5)-(8)

ภ.ง.ด.90
ยื่นรายได้ 40(1)-(8)
2บุคคลผู้มีรายได้เงินเดือน 40(1) อย่างเดียว
ภ.ง.ด.91
ยื่นรายได้ 40(1)-(8)
3บุคคลผู้มีรายได้ 40(2)-(4) อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือรายได้ 40(1)-(4) มากกว่า 1 รูปแบบ

ภ.ง.ด.90
ยื่นรายได้ 40(1)-(8)

ปล. ภงด.90 ภงด.91 ภงด.94 คือชื่อเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการยื่นแบบฯ จริงๆไม่ต้องจำตัวเลข เพราะตอนยื่นออนไลน์ มันจะ generate เอกสารให้แบบอัตโนมัติ ยกเว้นแต่หากลืมยื่น ยื่นเพิ่มเติม หรือยื่นแบบกระดาษที่เราจะต้องส่งเอกสารตัวจริงไปที่สรรพากรเขตของเรา เราถึงจะต้องจำ “ชื่อเอกสาร” ให้ถูก

ช่วงเวลาที่ต้องยื่นภาษี 2567 หมดเขตเมื่อไหร่

– ภงด.94 = เอกสารยื่นครึ่งปี
– ให้กรอกตัวเลขรายได้ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. คำนวณภาษีครึ่งปี 2567 และยื่นประมาณเดือน ก.ค.-ส.ค. ของปีนั้นๆ และสำหรับปี 2567 หมดเขต 8 ต.ค. 2567

– ภงด.91 = เอกสารยื่นทั้งปี กรณีมีรายได้เฉพาะเงินเดือน 40(1)
– ให้กรอกรายได้ตั้งแต่ ม.ค.-ธ.ค. 2567 และยื่นภายในเดือนมี.ค.ของปีถัดไป
ภงด.90 = เอกสารยื่นทั้งปี หากมีรายได้อื่นๆที่ไม่ใช่เฉพาะเงินเดือน 40(1)
– ให้กรอกรายได้ตั้งแต่ ม.ค.-ธ.ค. 2567 และยื่นภายในเดือนมี.ค.ของปีถัดไป

กรณีมีรายได้ 40(5)-(8) จะต้องยื่น 2 รอบ คือ ครึ่งปี (ภงด.94) ให้ยื่นเฉพาะรายได้ 40(5)-(8) เท่านั้น เมื่อยื่นทั้งปี (ภงด.90) ให้ยื่นรายได้ทั้งหมด 40(1)-(8) โดยตอนคำนวณภาษีทั้งปี จะต้องนำรายได้ของครึ่งปีแรกมาคิดด้วยเสมือนคิดใหม่ทั้งหมด

ตารางค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปีและทั้งปี อะไรใช้ลดหย่อนได้เท่าไหร่บ้าง?

สิทธิ์ค่าลดหย่อนที่สามารถใช้ได้ค่าลดหย่อนครึ่งปี
ภงด. 94 สูงสุดที่สามารถใช้ได้
(บาท)
ค่าลดหย่อนทั้งปี
ภงด. 90 สูงสุดที่สามารถใช้ได้
(บาท)
หมายเหตุ
ผู้มีเงินได้30,00060,000หากเป็นบุคคลซึ่งเสียภาษีให้กับกรมสรรพากร/รัฐบาลไทย จะได้ค่าลดหย่อนนี้โดยอัตโนมัติ
คู่สมรสผู้ไม่มีเงินได้30,00060,000หากสามี/ภรรยา “ที่จดทะเบียนสมรส” อย่างถูกต้องตามกฎหมายมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
บุตร15,000

หากบุตรคนที่ 2 เกิดตั้งแต่ปีพ.ศ.2561 เป็นต้นไปลดหย่อนได้เป็นคนละ 30,000 บาท/คน
30,000

หากบุตรคนที่ 2 เกิดตั้งแต่ปีพ.ศ.2561 เป็นต้นไปลดหย่อนได้เป็นคนละ 60,000 บาท/คน
อ่านเพิ่มเติม ที่เว็บกรมสรรพากร
บิดา/มารดา

หรือ

บิดา/มาดราของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้
15,00030,000– บิดา/มารดา หรือบิดา/มารดาของคู่สมรสที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจะต้องมีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไปและมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี
หากมีบุตรหลายคน บิดาหรือมารดาจะถูกนำไปใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้แค่ครั้งเดียวต่อปีภาษีเท่านั้น ดังนั้นพี่น้องต้องตกลงกันว่าใครจะนำบิดา หรือมารดาไปลดหย่อนในปีภาษีนั้นๆ
– ต้องใช้เอกสาร ล.ย. 03 ให้บิดา/มารดาหรือ บิดา/มารดาของคู่สมรสเซ็นด้วย
อุปการะผู้พิการหรือทุพพลภาพ30,00060,0001.บุคคลพิการ/ทุพพลภาพต้องมีบัตรประจำตัวผู้พิการ
2.ต้องใช้เอกสาร ล.ย. 04 ตอนยื่นฯด้วย
3.อ่านเพิ่มเติม
เบี้ยประกันชีวิตเมื่อรวมกับเบี้ยประกันสุขภาพแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 95,000เมื่อรวมกับเบี้ยประกันสุขภาพแล้วลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000เงื่อนไขการใช้สิทธิ์คือจะต้องชำระเบี้ยประกันภายใน 30 มิ.ย. 2567 ก่อนถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภงด.94 ได้
เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้5,00010,000ต้องเป็นคู่สมรสที่สมรสมาแล้วทั้งปี
ประกันสุขภาพ25,00025,000เงื่อนไขการใช้สิทธิ์คือจะต้องชำระเบี้ยประกันภายใน 30 มิ.ย. 2567 ก่อนถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภงด.94 ได้
ประกันสังคมแล้วแต่ประเภทประกันสังคม ม.33 ตามจ่ายจริงไม่เกิน 4,500 บาท
ม.39 ไม่เกิน 2,592 บาท
ม.40 แล้วแต่ทางเลือก 1. ไม่เกิน 420 บาท 2.ไม่เกิน 600 บาท 3. ไม่เกิน 1,800 บาท
แล้วแต่ประเภทประกันสังคม ม.33 ตามจ่ายจริงไม่เกิน 4,500 บาท
ม.39 ไม่เกิน 2,592 บาท
ม.40 แล้วแต่ทางเลือก 1. ไม่เกิน 420 บาท 2.ไม่เกิน 600 บาท 3. ไม่เกิน 1,800 บาท
ประกันสุขภาพบิดา/มารดา15,00015,000เงื่อนไขการใช้สิทธิ์คือจะต้องชำระเบี้ยประกันภายใน 30 มิ.ย. 2567 ก่อนถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภงด.94 ได้
ประกันบำนาญสูงสุด 200,000 แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ครึ่งปีแรกก่อนหักค่าลดหย่อนสูงสุด 200,000 แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้ก่อนหักค่าลดหย่อนเงื่อนไขการใช้สิทธิ์คือจะต้องชำระเบี้ยประกันภายใน 30 มิ.ย. 2567 ก่อนถึงจะสามารถนำมาลดหย่อนภงด.94 ได้
SSFสูงสุด 200,000 แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ครึ่งปีแรกก่อนหักค่าลดหย่อนสูงสุด 200,000 แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปีก่อนหักค่าลดหย่อนต้องซื้อก่อน 30 มิ.ย. 2567 ถึงนำมาลดหย่อนครึ่งปี ภงด.94 ได้
RMFสูงสุด 500,000 แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ครึ่งปีแรกก่อนหักค่าลดหย่อนสูงสุด 500,000 แต่ไม่เกิน 30% ของรายได้ต่อปีก่อนหักค่าลดหย่อนต้องซื้อก่อน 30 มิ.ย. 2567 ถึงนำมาลดหย่อนครึ่งปี ภงด.94 ได้
กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)30,00030,000
ดอกเบี้ยกู้บ้าน95,000100,000
ช้อปดีมีคืน 2567ไม่เกิน 50,000ไม่เกิน 50,000ซื้อสินค้าหรือบริการตามเงื่อนไขตั้งแต่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กบข.
กองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน
ตารางลดหย่อนภาษี 2567 บุคคลธรรมดา

ตัวอย่างการคำนวณเงินได้เพื่อเสียภาษีครึ่งปีและทั้งปี 2567

หากนาย A มีงานประจำเป็นโปรแกรมเมอร์ เงินเดือนเดือนละ 100,000 บาท และมีคอนโดปล่อยเช่า รายได้เดือนละ 10,000 บาท นาย A จะมีรายได้จากเงินเดือน 40(1) และค่าเช่า 40(5)*

* ณ สมมุติฐานว่านาย A ไม่มีค่าลดหย่อนใดๆเพิ่มเลย เช่น ค่าลดหย่อนบิดา มารดา ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ RMF SSF

เงินได้สำหรับยื่นภาษี (ก่อนหักค่าลดหย่อนเพิ่มเติม)รายได้ยื่นครึ่งปี
ภงด.94
รายได้ยื่นทั้งปี
ภงด.90
40 (1) งานประจำโปรแกรมเมอร์
ลดหย่อน 100,000 บาท
1,200,000-100,000
= 1,100,000
40 (5) คอนโดปล่อยเช่า
ลดหย่อน เหมา 30%
60,000 – 30%
= 42,000
120,000 – 30%
= 84,000
ค่าลดหย่อนส่วนตัว30,00060,000
รวม12,0001,124,000

เงินได้ที่นาย A จะต้องยื่นฯสำหรับครึ่งปี 2567 คือ 40(1) 12,000 บาท
ส่วนเงินได้ที่นาย A จะต้องยื่นฯสำหรับทั้งปี 2567 คือ 40(1)+40(5) = 1,124,000 บาท ตามตารางด้านบน

Tips#1
เนื่องจากเงินได้ครึ่งปีแรกของนาย A ยังไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ต้องเสียภาษี (รายได้ตั้งแต่ 150,000 บาทลงไป) ดังนั้นนาย A จะไม่ต้องชำระภาษีเพิ่มเติม แต่หากรายได้เกิน 150,001 บาท เขาจะต้องชำระภาษีเลย ไม่สามารถทบยอดไปชำระตอนยื่นภาษีทั้งปีได้


BONUS#1

หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมหมวดประกันชีวิต ไหนบอกว่าค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปีได้แค่ครึ่งเดียว แต่ลดหย่อนได้เกือบเต็มแสนอย่างนั้นล่ะ!?!

เนื่องจากกฎหมายและนโยบายการสนับสนุนจากทางภาครัฐมักเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่การแก้กฎหมายต่างๆทำกระทำได้ช้ามากจึงใช้วิธีการออกกฎหมายลูกออกมาแทนการแก้กฎหมาย ก่อนหน้านี้ค่า “ลดหย่อน” ประกันชีวิตอยู่ที่ 10,000 บาท แต่ในปัจจบุันลดหย่อนได้มากถึง 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า! ดังนั้นส่วนที่เพิ่มขึ้นมาอีก 90,000 บาท ทางกฎหมายจะใช้คำว่า “ยกเว้น” ภาษี

ซึ่งตอนเรายื่นครึ่งปีสรรพากรระบุว่า “ค่าลดหย่อน” จะสามารถใช้ได้แค่ “ครึ่งเดียว” แต่ไม่ใช่ “ค่ายกเว้น” ดังนั้นตัวค่ายกเว้นจึงลดหย่อนได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย

ดังนั้นเราสามารถแจกแจงรายละเอียดได้ตามตารางด้านล่างนี้

หมวดประกันชีวิตค่าลดหย่อน
(บาท)
ค่ายกเว้น
(บาท)
รวม
(บาท)
ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี ภงด.9410,000/2
= 5,000
90,00095,000
ค่าลดหย่อนภาษีทั้งปี ภงด.90, ภงด.9110,00090,000100,000

อ้างอิง: ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปีกรมสรรพากร https://www.rd.go.th/60579.html


คำถามที่พบบ่อย

หากมีรายได้ 40(1) จากงานประจำด้วย เราไม่นำรายได้ส่วนนี้มายื่นครึ่งปี และเราไม่นำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ Provident Funds (PVD) มาใช้เป็นค่าลดหย่อนในภ.ง.ด.94 เนื่องจากเงินที่จะนำเข้า PVD มาจาก 40(1) นั่นเอง

คำตอบ คือ ไม่ได้ครับ

หากคำนวณภาษีแล้วเราต้องเสียภาษีเพิ่ม >>> ต้องจ่ายเลย
แต่หากคำนวณภาษีแล้วเราสามารถขอคืนได้ >>> ยังขอคืนไม่ได้ ต้องรอขอคืนตอนยื่นแบบ ภงด.90 ทีเดียวครับ


หากเรื่องสารพันปัญหาภาษีกำลังทำให้คุณปวดหัวอยู่
แชทมาคุยกับเราได้ที่

ค่าลดหย่อนภาษีครึ่งปี 2565
line add friend

Similar Posts